ผู้เขียน หัวข้อ: “หอพระแก้วเวียงจันทน์” โทรมหนักลาวกางแผนบูรณะใหญ่ในรอบ 70 ปี  (อ่าน 681 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1107



“หอพระแก้วเวียงจันทน์” โทรมหนักลาวกางแผนบูรณะใหญ่ในรอบ 70 ปี       
   


หอพระแก้วเวียงจันทน์ในสภาพที่สมบูรณ์ ภาพถ่ายวันที่ 12 พ.ย.2550 หรือเกือบ 6 ปีก่อน ที่เห็นในภาพนี้
เป็นหลังที่ก่อสร้างขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จเมื่อ 71 ปีที่แล้วในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส และ มีการซ่อมแซมในปี
พ.ศ.2536 แต่ปัจจุบันสภาพภายในผุกร่อนและทรุดโทรมหนัก สื่อของลาวกล่าวว่าการฟื้นฟูบูรณะครั้งใหญ่
นี้จะต้องใช้งบประมาณถึง 7,000 ล้านกีบ. -- Commons.Wikimedia.Org/Alcyon

       ทางการลาวได้ออกแผนการบูรณปฏิสังขรณ์หอพระแก้วเวียงจันทน์ ซึ่งเคยเป็นวัดเก่าแก่คู่ราชบัลลังก์
อดีตกษัตริย์ และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสภาพ
ทรุดโทรมเนื่องจากผุพังในหลายจุด หลังจากเวลาผ่านไป 70 ปี นับตั้งแต่ก่อสร้างขึ้นใหม่ครั้งล่าสุดในยุค
อาณานิคม และผ่านการบูรณะย่อยมาครั้งหนึ่งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้อาจจะต้องใช้งบ
ประมาณถึง 7,000 ล้านกีบ (27.7 ล้านบาท) สื่อของทางการรายงาน อ้างผลการสำรวจ และประเมิน
โดยคณะกรรมการชุดหนึ่ง ซึ่งเห็นพ้องกันภายหลังได้ลงเก็บข้อมูลข้อเท็จจริงในพื้นที่ สำนักข่าวสาร
ปะเทดลาวกล่าว
       
       “โครงการปฏิสังขรณ์หอวัดพระแก้ว รวมเป็นงาน 3 แขนงใหญ่เพื่อปรับปรุงสภาพที่ทรุดโทรม
อันเกิดมาจากการก่อสร้างเป็นเวลาหลายทศวรรษ ถ้าอิงตามการสำรวจตรวจตราเก็บข้อมูลทางด้าน
วิชาการ และคิดประเมินมูลค่าปฏิสังขรณ์จะต้องใช้งบประมาณถึง 7,000 ล้านกีบ” ขปล.กล่าว
การลงเก็บข้อมูลจากสถานที่จริงระหว่างวันที่ 2-5 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้พบจุดที่จะต้องซ่อมแซมซึ่ง
ประกอบด้วย ส่วนหลังคาที่ผุกร่อนถึง 80% ต้องปรับเปลี่ยนกระเบื้องดินเผามุงหลังคาที่รั่วซึม
เวลาฝนตก จะต้องเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ถึง 50% ที่เหลือของเดิมยังมีสภาพดี และอาจจะต้องทำ
ช่อฟ้าใหม่โดยรักษารูปร่างเดิม และต้องติดตั้งสายล่อฟ้ากันฟ้าผ่าเพิ่มเติม  โครงเพดานของหอ
พระแก้วยังมีสภาพดี เพียงแต่มีแผ่นไม้เพดานในบางบริเวณที่โป่งพอง นอกจากนั้น ภาพเขียน
บนเพดาน และลวดลายวิจิตรต่างๆ มีสภาพเลือนราง เนื่องจากสีซีดจางลง มองเห็นไม่ชัดต้องเขียน
หรือระบายสีใหม่ สำหรับตัวอาคารจะต้องซ่อมแซมบานประตู ซุ้มหน้าต่าง แท่นพระประธาน ซ่อมแซม
ระเบียง ฯลฯ ซึ่งการฟื้นฟูบูรณะ และปฏิสังขรณ์ทั้งหมดนี้จะให้แล้วเสร็จในปี 2558 ขปล.กล่าว
       
       ตามประวัติศาสตร์ของฝ่ายลาว พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในเวียงจันทร์เป็นเวลากว่า 200 ปี
นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าไซเสดถาทิลาด (ไชยเชษฐาธิราช) มีพระราชประสงค์ให้สร้างวัดพระแก้วขึ้น
ในปี พ.ศ.2108 เพื่อให้เป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ทรงอัญเชิญ
ไปจากนครเชียงใหม่ (ล้านนา) เมื่อต้องเสด็จฯ กลับไปครองนครจันทะบูลีศรีสตนาคนหุต แต่ก็เป็น
เวลากว่า 230 ปีมาแล้ว ที่ภายในหอพระแก้วเหลือเพียงแท่นประดิษฐาน พระแก้วมรกตถูกอัญเชิญ
ไปประทับที่กรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก



ประตูใหญ่ด้านหน้า ริมถนนเสดถาทิลาด ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมหอพระแก้วในภาพเดือน ต.ค.2547
ลาวอยู่ระหว่างเตรียมการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานเก่าแก่แห่งนี้ เนื่องจากภายในอยู่ในสภาพผุพังและทรุดโทรม
ซึ่งหมายถึงการปิดและงดการเข้าชม เพียงแต่ยังไม่ทราบในขณะนี้ว่าการบูรณะจะเริ่มไม่ไร.
-- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.



ภาพถ่ายเดือน ต.ค.2547 แผ่นไม้สักสลักข้อความบอกความเป็นมาของหอพระแก้ว บรรทัดที่ 4-5 มีข้อความว่า
"..แต่ปัจจุบันนี้องค์พระแก้วมรกตดังกล่าวได้ถูกนำไปประดิษฐานอยู่ต่างประเทศแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1779".
-- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.
       


ทางเดินด้านหน้าเข้าสู่หอพระแก้วเวียงจันทน์ในภาพเดือน ต.ค.2547 ขณะนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มหนึ่งกำลัง
ก้าวขึ้นบันไดเพื่อเข้าเยี่ยมชมและนมัสการพระพุทธรูป. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.
       
     กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปจากเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.2322 และทรงประดิษฐานที่วัดแห่งหนึ่ง
ใกล้กับวัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรีเป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่
       
       ตามประวัติศาสตร์ของฝ่ายลาว วัดพระแก้วเวียงจันทน์ ถูกกองทัพสยามเผาทำลายถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกใน
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และครั้งหลังในสงครามปี พ.ศ.2371-2372 ที่นักประวัติศาสตร์ฝ่ายสยามเรียกว่า
“สงครามปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์” ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาเจษฎาราชเจ้า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3
       
       หลังถูกเผาทำลายโดยกองทัพสยามในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าอนุวงศ์ ได้ทรงให้ก่อสร้างวัดพระแก้วขึ้นใหม่
เป็นครั้งแรก เมื่อครั้งเสด็จกลับจากกรุงเทพฯ ไปครองกรุงเวียงจันทน์ ก่อนจะถูกเผาทำลายอีกครั้งหนึ่ง โดยกองทัพ
สยามสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภาพที่บันทึกเอาไว้โดยชาวฝรั่งเศสในอีกกว่า 100 ปีถัดมา แสดงให้เห็นวัดพระแก้ว
กลายเป็นเพียงซากที่เหลือจากไฟไหม้ เสาสีดำตั้งโด่อยู่บนฐานรากที่เป็นเถ้าถ่าน การก่อสร้างขึ้นใหม่ครั้งที่ 3
ดำเนินการโดยผู้ปกครองชาวฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ.2479-2485 ในยุคที่ลาวเป็นดินแดนอาณานิคม ภายใต้
การกำกับดูแลของเสด็จฯ เจ้าสุวันนะพูมา ที่ทรงสำเร็จการศึกษาสาขาวิศกรรมศาสตร์
จากกรุงปารีส และต่อมาทรงเป็นนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรลาวเป็นเวลาสั้นๆ หลังจากได้รับเอกราช
       
       หลังจากนั้น วัดพระแก้วได้ตกอยู่ในสภาพที่ขาดการเอาใจใส่เป็นเวลาหลายสิบปีเนื่องจากความขัดแย้ง
ทางการเมืองภายในและประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม จนกระทั่งมีการบูรณะแบบ “ซ่อมเล็ก” อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี
พ.ศ.2536 โดยทางการลาวยุคใหม่ ซึ่งอยู่ต่อมาในสภาพที่เห็นอยู่ปัจจุบัน
       
       หอพระแก้วไม่ได้มีสภาพเป็นวัดอีกแล้ว แต่เป็น “หอพิพิธภัณฑ์” ที่ใช้เก็บพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างที่
มีพุทธลักษณ์งดงามหลายองค์ กับโบราณวัตถุล้ำค่าอีกจำนวนมาก ตั้งอยู่ริมถนนเสดถาทิลาดติดบริเวณหอคำ
ทำเนียบประธานประเทศ เยื้องกันบนอีกฝั่งหนึ่งของถนนเป็นวัดสีสะเกดซึ่งเป็นวัดเก่าแก่เพียงแห่งเดียวที่รอดพ้น
รอดพ้นจากการเผาทำลายครั้งที่ 2 โดยกองทัพสยาม
       
       ในช่วงปี 2551-2552 ทางการลาวได้ฟื้นฟูบูรณะหอไตรวัดสีสะเกด ที่มีสภาพทรุดโทรมขึ้นใหม่
เป็นการร่วมฉลองครบรอบ 450 ปี การก่อตั้งนครเวียงจันทน์ ปัจจุบัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอีก
แห่งหนึ่งในเมืองหลวงของลาวเช่นกัน.



ภาพวันที่ 7 มี.ค.2550 หรืออีก 3 ปีต่อมา เป็นทางเดินด้านหน้าไปยังหอพระแก้ว ต่างจากภาพก่อนหน้านี้
มีการติดตั้งเสาไฟส่องสว่างด้านหน้าหอ สื่อของทางการรายงานว่าภายในหอพระแก้วชำรุดทรุดโทรมหนัก
และจะต้องบุรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.



จากบันไดทางขึ้นหอพระแก้วมองย้อนกลับไปยังทางเดิน นักท่องเที่ยวจากยุโรปกลุ่มนี้กำลังมุ่งหน้ามาเที่ยวชม
ในภาพวันที่ 7 มี.ค.2550 ที่นี่เป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของเวียงจันทน์ แต่นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่
ที่สุดในช่วงหลายปีมานี้เป็นชาวไทย. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.



พระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธลักษณ์สมัยล้านช้างประดิษฐานอยู่ระเบียงด้านหนึ่งของหอพระแก้วเวียงจันทน์
ในภาพเดือน ต.ค.2547 แต่ไม่มีพระแก้วประดิษฐานอยู่ที่นั่นมากว่า 230 ปีแล้ว. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.



พระพุทธรูปสำริดปางพระอิริยาบทยืน ประดิษฐานที่มุมหนึ่งของระเบียงหอพระแก้วเวียงจันทน์ในภาพเดือน
ต.ค.2547 ที่นี่ไม่มีสภาพเป็นวัดอีกแล้วหลังจากถูกเผาทำลายถึง 2 ครั้ง การก่อสร้างใหม่ครั้งที่ 2 มีขึ้นเมื่อ
71 ปีก่อนโดยทางการปกครองฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคม และ มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2536 แต่คราวนี้
จะเป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.
 


พระพุทธรูปปางพระอิริยาบทยืนประดิษฐานอยู่ข้างเสาระเบียงหอพระแก้ว ข้างหลังเป็นบานประตูสลักลวดลาย
สวยงามกับซุ้มประตูสลักนูน ในภาพเดือน ต.ค.2547 หรือเมื่อ 9 ปีที่แล้ว สื่อของทางการรายงานว่าปัจจุบัน
อยู่ในสภาพทรุดโทรม ทั้งสองรายการนี้จะต้องได้รับการฟื้นฟูบูรณะด้วย. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.



ซุ้มหน้าต่างหอพระแก้วในภาพเดือน ต.ค.2547 เป็นอีกรายการหนึ่งที่สำนักข่าวของทางการรายงานว่าจะต้อง
ฟื้นฟูใหม่. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.

 
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
นำมาจาก
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000089102


+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=17568

ออฟไลน์ ตู่ ลำพูน

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 583
    114
  • เพศ: ชาย

บ้านพี่เมืองน้องเห็นภาพแล้วอยากไปเห็นด้วยตาตัวเองจังเลยครับขอบคูณครับคุณวิทยา :'e:92

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=17568