ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงค์วิหารทาน...พระอานนท์ถวายวิหารทานในพระพุทธศาสนา  (อ่าน 2158 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มหาร้อยวัด

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 102
    46
  • เพศ: ชาย


อานิสงค์วิหารทาน
ในอดีตชาติพระอานนท์เถระยอดพุทธอุปัฏฐาก
ได้เคยสร้างมหาวิหารถวายเป็นสังฆทานแด่
คณะสงฆ์นับแสนรูป
การถวายวิหารเป็นสังฆาราม เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งพระบรม
ศาสดาทรง มีพุทธานุญาต ตามคำกราบทูลขอของท่าน ราชคหเศรษฐี เนื่องจาก
ทรงเล็งเห็นประโยชน์ว่า เป็นสิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้สงฆ์ได้บำเพ็ญ
สมณธรรม ขจัดขัดเกลากิเลสอาสวะในใจให้หมดสิ้นไป ดังนั้นวิหารทาน
จึงเป็นมหาทานที่มีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ ส่งผลทำให้มีความสุขในทุกที่ ทุกสถาน
และสมบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ กระทั่งนิพพานสมบัติ

ดังเรื่องราวในอดีตชาติของพระอานนท์เถระ ยอดพุทธอุปัฏฐาก ที่ได้เคยสร้างมหาวิหารถวายเป็นสังฆทานแด่คณะสงฆ์นับแสนรูปทำให้ท่านได้รับผลบุญอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ ส่งผลให้ความปรารถนาของท่านเต็มเปี่ยมในภพชาติสุดท้ายจนมาเป็นบุคคลผู้ใกล้ชิดกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด มีโอกาสได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ ในสำนักของพระบรมศาสดา จนกระทั่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "ยอดของภิกษุผู้เป็นพุทธอุปัฏฐาก" และเป็น "ยอดของภิกษุผู้เป็นพหูสูต"อีกด้วย ดังเรื่องราวในอดีตชาติดังต่อไปนี้

ในแสนกัปนับแต่ภัทรกัปนี้ พระบรมศาสดา ทรงพระนามว่า "ปทุมุตตระ"ได้อุบัติขึ้นแล้วในโลก แต่เดิมพระองค์ทรงมีพระนามว่า"อุตตรกุมาร" เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอานันทะ แห่งนครหังสวดี ด้วยบุญบารมีที่ได้ทรงสั่งสมมาจนเต็มเปี่ยมแล้ว ทำให้ทุกครั้งที่ทรงยกพระบาทเพื่อจะเหยียบลงบนแผ่นดินดอกบัวหลวงดอกใหญ่ก็ชำแรกแผ่นดิน ขึ้นมา กลีบดอกบัว วัดได้ ๙๐ ศอก เกสร ๓๐ ศอก ฝัก ๑๒ ศอก มีละอองเกสรประมาณ ๙ หม้อ ส่วนพระบรมศาสดา ทรงมีความสูง ๕๘ ศอก ระหว่างพระพาหาทั้งสองวัดได้ ๑๘ ศอก พระนลาต ๕ ศอก พระหัตถ์และพระบาทยาว ๑๑ ศอก เมื่อพระองค์ทรงเหยียบดอกบัว ละอองเกสรที่มีประมาณ ๙ หม้อ ก็ฟุ้งขึ้น กลิ่นหอมกระจายไปทั่วทุกสารทิศ จึงทำให้พระองค์ทรงมีพระนามเช่นนั้น

สุมนกุมารปรารถนาตำแหน่งภิกษุผู้ใกล้ชิด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ทรงมีพระเชฏฐภาดา คือ น้องชายร่วมบิดา ชื่อสุมนกุมารแม้จะไม่ได้เสด็จออกผนวชตามพระเจ้าพี่ แต่ก็มีความเคารพเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา เมื่อว่างเว้นจากกรณียกิจก็หาโอกาสไปฟังธรรมจากพระบรมศาสดาเป็นประจำมิได้ขาด ทุกครั้งที่เสด็จไปเฝ้าพระเจ้าพี่นั้น สุมนกุมารสังเกตเห็นว่า พระเถระชื่อสุมนะ เป็นที่โปรดปราน

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพิเศษ เวลาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ต้องขออนุญาตจากพระเถระรูปนี้ก่อน เพราะท่านจะรู้เวลาอันควรหรือไม่ควร ทำให้พระกุมารอยากได้รับตำแหน่งของภิกษุผู้ใกล้ชิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง จึงปรารภกับพระพุทธองค์

พระบรมศาสดาทรงแนะนำให้สุมนกุมารเริ่มทำทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถศีล จึงจะเป็น ที่โปรดปรานของพระองค์ จากนั้นทรงรับสั่งให้ พระกุมารสร้างมหาวิหารขนาดใหญ่ เพื่อรองรับภิกษุถึง ๑แสนรูปที่จะมาฉันภัตตาหารในพระราชวัง สุมนกุมารจึงซื้ออุทยานของกุฎุมพีโสภะ ในราคา ๑ แสนกหาปณะ อีกทั้งทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ อีก ๑ แสนกหาปณะ เพื่อสร้างมหาวิหารทันที ทรง รับสั่งให้สร้างพระคันธกุฎีสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้สร้างกุฎีและมณฑปเพื่อเป็นที่พักสำหรับ ภิกษุสงฆ์

เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้อาราธนาภิกษุสงฆ์ ๑ แสนรูป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานมา ฉันภัตตาหาร แล้วกล่าวคำน้อมถวายมหาวิหารว่า "ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงทรงรับอุทยานชื่อโสภนะ ที่ข้าพระองค์ทรงสร้างเป็นมหาวิหารสำหรับภิกษุสงฆ์
ด้วยเถิด"
พระกุมารทรงถวายมหาทานตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ทรงถวายผ้าไตรจีวรแด่ภิกษุ ๑ แสนรูป แล้วทูลขอพรว่า

่"ข้าพระองค์ได้สร้างวิหารถวายแด่ภิกษุสงฆ์ครั้งนี้ มิได้กระทำบุญเพราะหวังสมบัติ คือ ความเป็นท้าวสักกเทวราชทั้งมิได้กระทำเพราะหวังพรหมโลกเลย แต่ทำเพราะปรารถนาความเป็นพุทธอุปัฏฐาก อยากเป็นที่โปรดปรานเหมือนพระสุมนอุปัฏฐากของพระองค์
ในอนาคตกาล ด้วยเถิด"

สุมนกุมารสร้างวิหารแล้วถวายมหาทานตลอด ๗ วัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูว่า ่"ความคิดอันยิ่งใหญ่ของพระกุมารนี้ จักสำเร็จหรือเปล่าหนอ ทรงทราบว่า ในกัปที่หนึ่งแสนนับจากภัทรกัปนี้ไป พระโคดมพุทธเจ้าจักอุบัติขึ้น และพระกุมารนี้จักได้เป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงตรัสให้พรว่า
"ขอให้สิ่งที่ทรงประสงค์ ทรงปรารถนาแล้วทั้งหมด จงเป็นผลสัมฤทธิ์ ขอให้พระดำริทั้งปวงจงเต็มรอบ เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญฉะนั้น"พระกุมารได้ทรงสดับแล้ว ทรงพระดำริว่า"ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มีพระวาจา เป็นสอง" นับตั้งแต่นั้นมาสุมนกุมารจึงตั้งใจทำ ความดีตลอดแสนปี เมื่อละจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่านเวียนวนอยู่แต่ในสุคติภูมิอย่างเดียวภพชาติสุดท้ายทรงถือกำเนิดเป็นพระโอรสของพระเจ้า อมิโตทนะและได้เป็นสหชาติ คือ ประสูติในเวลาเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เมื่อท่านเสด็จออกผนวชก็ได้รับแต่งตั้งเป็นยอดเอตทัคคะในด้านพหูสูตรวมถึงเป็นยอดพุทธอุปัฏฐาก ผู้เป็นที่โปรดปรานของพระบรมศาสดา นอกจากนี้ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าในบรรดาภิกษุ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากในภัทรกัปนี้ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติแล้วถึง ๓ พระองค์ พระอานนท์ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ที่สุด

การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

จะเห็นว่า การ ที่พระอานนท์ได้ตำแหน่งอันเลิศนี้มา อีกทั้งเป็นผู้แจ่มแจ้งในคำสอนของพระ บรมศาสดา ก็เพราะอานิสงส์ที่ ี่เคยถวายมหาวิหารเป็นสังฆทานและตั้งความปรารถนาไว้เช่นนั้น เพราะฉะนั้นอานิสงส์ในการสร้างมหาวิหาร จึงไม่ใช่เรื่องพอ
ดีพอร้าย เป็นบุญใหญ่ที่บังเกิดขึ้นได้ยาก ต้องอาศัยกำลังศรัทธาและกำลังทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความยากลำบาก ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้ทำบุญสร้างวิหารแด่พระสงฆ์ ก็ให้รีบขวนขวาย อย่าปล่อยให้โอกาสทองในชีวิตของเราผ่านไป อย่างน่าเสียดาย

เฉกเช่นเดียวกับ การสร้าง "มหารัตนวิหารคต"ซึ่งเป็นโอกาสทองของผู้มีบุญทุกคน ที่จะได้มีส่วนร่วมสร้างศาสนสถานอันยิ่งใหญ่ เพื่อรองรับพุทธบุตร จากทั่วโลกหลายแสนรูป ที่จะมาเจริญสมาธิภาวนา และบำเพ็ญศาสนกิจต่างๆ ร่วมกันในวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยอยกพระพุทธศาสนาให้สูงเด่น และเพื่อสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาไปอีกนานนับพันปี จึงนับเป็นบุญลาภอันประเสริฐของพวกเราทุกคนที่จะได้มีโอกาสสร้าง"มหาวิหารทาน" ดุจเดียวกับผู้มีบุญในกาลก่อน บัดนี้ มหา รัตนวิหารคดใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว คงเหลือเพียงการก่อสร้าง"หลังคา" ชั้นที่ ๒ รวม๓๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร

ซึ่งจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับถวายการต้อนรับคณะสงฆ์ได้ถึงคราวละหลายแสนรูป ช่วยอำนวยความสะดวกในการบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อผลแห่งการฟื้นฟูพระธรรมคำสอนดั้งเดิมให้หวนกลับคืนมาอีกครั้งดั่งสมัยพุทธกาล จึงนับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่ได้มีส่วนร่วมสร้างซึ่งบุญนี้จะคอยเกื้อหนุนเราทุกคน ให้มีความสุขความสำเร็จไปทุกภพทุกชาติเพราะความปรารถนาทุกอย่างของมนุษย์จะเป็นจริงได้ ล้วนต้องอาศัยบุญเป็นหลักทั้งสิ้นเมื่อสั่งสมบุญจนเต็มเปี่ยมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ตั้งใจไว้ย่อมสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ ดังนั้น พระพุทธองค์ จึงทรงสอนให้คนเราพึงข่มความตระหนี่ แล้วนำทรัพย์ออกให้ทานเพราะบุญเป็นเพียงที่พึ่งเดียวของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ในอันนสูตรว่า

"บุคคลพึงนำความตระหนี่ออกไปเสีย
พึ่งข่มความตระหนี่ ซึ่งเป็นตัวมลทิน
แล้วพึงให้ทานเถิด
เพราะบุญทั้งหลาย
เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า


ที่มา
http://dharma.exteen.com/20070812/entry

ถาม : แล้วอย่างหนูทำบุญทุกวันหยอดเงินบาทหนึ่ง หยอดเงินหน้าหิ้งพระค่ะ แล้วหนูยังไม่ได้เอามาถวายถือเป็นการทำบุญหรือเปล่าคะ ?

ตอบ : เป็นแล้ว เพราะว่าเราตั้งใจอยู่แล้วว่าเงินส่วนนี้จะทำบุญ ถ้าหากว่าเราตายตอนนั้นผลบุญอันนั้นเราได้เลย แต่พระขาดทุน เพราะยังไม่ได้รับสตางค์ (หัวเราะ) อันนี้ไม่ต้องกังวล อันนี้เป็นบุญอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าของเรานี่ เจตนามันเป็นบุญอยู่แล้ว พอเราได้ทำไปผลบุญนั้นก็เป็นอันสำเร็จแล้ว มันก็เหลืออยู่เพียงว่ามีวาระมีโอกาสก็เอาเงินนั้นมาถวายพระ เพราะฉะนั้นห้ามตายก่อน ตายก่อนพระขาดทุน

อธิษฐานบารมีนี่สำคัญนะ เป็นบารมีที่สำคัญมาก คนที่ไม่ถึงระดับปรมัตถบารมีใช้อธิษฐานไม่เป็นด้วยซ้ำไป บางคนก็เข้าใจผิดว่า อธิษฐานบารมี อย่างเช่นว่า ทำบุญแล้วขอให้เป็นนั่นขอให้เป็นนี่ ขอให้ได้นั่นขอให้ได้นี่ปรากฏว่าเป็นการโลภเขาไปคิดอย่างนั้น อันนั้นไม่ใช่ อธิษฐานบารมีเป็นการเจาะจงว่าผลบุญที่เราทำจะให้มันเกิดอะไร จะให้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ สำหรับตัวเราเป็นการเจาะจงเวลา ถ้าหากว่าเราต้องการของอย่างหนึ่งตอนนี้ ถ้าเราไม่ตั้งใจไว่กอนมันมาอีกโน่นปี ๒ ปี ข้างหน้า ซึ่งไม่มีประโยชน์กับเราแล้ว

อธิษฐานบารมีเป็นการยิงปืนเล็งเป้าเพื่อให้ถูกต้องเป้าหมาย ถ้าหากยิงเหวี่ยงแหส่งเดชไปมันอาจจะไม่ถูกเป้าหมายเลยก็ได้ สิ่งที่เราทำไม่ว่าจะดีหรือชั่วเขาส่งผลอยู่แล้ว

อธิษฐานบารมีนี่เป็นการจำกัดว่าจะให้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ เกิดผลอย่างไร มันไม่ได้โลภอะไรเลย เพียงแต่กำหนดให้มันแน่นอนลงไปเท่านั้น เรื่องของอธิษฐานบารมีนี่ถ้าหากว่าเราสร้างสาเหตุได้เพียงพอ ผลมันก็จะเกิด ทีนี้ถ้าหากว่าเหตุมันยังไม่พอผลมันก็ยังไม่เกิดหรอก

อย่างเช่นว่าน้ำขวดนี้ ยกตัวอย่างน้ำนี่ง่ายดี ถ้าหากว่าโยมสร้างเหตุเพียงพอก็คือ น้ำมันจะเต็มขวดแล้ว โยมตั้งใจอธิษฐานขอน้ำขวดหนึ่งโยมได้แน่นอน แต่ถ้าหากว่าน้ำมันแค่นี้ แล้วโยมตั้งใจขอน้ำขวดหนึ่งโยมได้แน่นอน แต่ถ้าหากว่าน้ำมันแค่นี้ แล้วโยมตั้งใจขอน้ำเต็มขวด เขาก็ให้เราไม่ได้เพราะว่ายังไม่เต็ม
เพราะฉะนั้นเราต้องทำเหตุให้เพียงพอ ผลถึงจะได้ เรื่องของธรรมะเป็นเรื่องตรงไปตรงมา

ที่หลวงพ่อโตวัดระฆัง ท่านบอกว่า ถ้าเจ้าไม่สร้างเอาไว้แล้ว เที่ยวไปขอร้องขอต่อคนอื่นเมื่อไหร่เจ้าจะได้ เพราะฉะนั้นก็เลยจำเป็นอยู่ตรงนี้ว่า เราต้องทำให้เพียงพอ ถึงเวลาอธิษฐานว่าเราต้องการอย่างไรมันถึงจะเป็นอย่างนั้น

สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=13736