ผู้เขียน หัวข้อ: กำเนิดเพลงไทยสากล ยุคก่อนเป็นเพลงลูกกรุง-ลูกทุ่ง  (อ่าน 12784 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ต๊ะม่อน

  • มือสมัครเล่น
  • **
  • ออฟไลน์
  • 25
    21


วันนี้ผมมีโอกาสนั่งอ่านบทความเกี่ยวกับการเกิดเพลงไทยสากลและประวัติครูเพลงรุ่นบุกเบิก เช่น ครู พรานบูรพ์ จึงอยากนำบทความอันนี้มาเผยแพร่ให้ทุกๆท่านได้รับทราบเพื่อเป็นการอนุรักษ์

เพลงไทยสากลเพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย โดยเริ่มจากนำทำนองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐานของโน้ตเพลง
แบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มีละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย มีบทบาทสำคัญทำให้เพลงไทยสากล
ได้รับความนิยม จนในปัจจุบันแตกสาขาไปอีกหลากหลายแนวเพลง

เพลงไทยสากล อาจพูดได้ว่าที่มา เกิดจาก 2 สายคือ สายทางละครและสายทางภาพยนตร์
-สายทางละครนั้นละครคณะปรีดาลัยเป็นต้นกำเนิด มีลักษณะเป็นเพลงไทยที่ร้องตามทำนองฝรั่ง
-ส่วนทางสายภาพยนตร สันนิษฐานว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำเข้ามาฉายในเมืองไทยราวปี พ.ศ. 2471 ในช่วงแรกเป็นภาพยนตร์เงียบ จึง
 มีการริเริ่มทำเพลงประกอบเพื่อเพิ่มอรรถรสสำหรับผู้ชม โดยใช้แตรวงบรรเลงก่อนการฉายและขณะทำการฉายหนัง เพลงที่บรรเลงเป็นเพลง
 สากลกับเพลงไทยเช่น เพลงแบล็คอีเกิ้ล และเพลงของทูลกระหม่อมบริพัตรคือเพลงมาร์ชบริพัตรและวอลซ์ปลื้มจิตพลงไทยสากล ในสมัยของพรานบูรณ์ (2470-2472) มีลักษณะเป็น “เพลงไทยเดิมสากล” ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงไทยเดิม พรานบูรณ์ได้แต่ง
เพลงลักษณะนี้้อีกเเป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2474 พรานบูรณ์และเพชรรัตน์แห่งละครคณะศรีโอภาสได้นำดนตรีสากลประเภทเพลงแจ๊ส (Jazz
Band) หรือ รหัสดนตรี เป็นส่วนประกอบละครเรื่อง “โรสิตา” และนำทำนองเพลง “วอลซ์ปลื้มจิต” มาใส่เนื้อร้อง ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการเผย
แพร่บทเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ที่ศาลาแดง และมีการบันทึกแผ่นเสียง โดยห้างนายต.เง็กชวน และในปีเดียวกันพรานบูรณ์ร่วมงานกับ
คณะละครจันทโรภาสก็โด่งดังที่สุดขั้นด้วยละครร้องเรื่อง”จันทร์เจ้าขา” ซึ่งมีสถิติการนำออกแสดงถึง 49 ครั้ง ติดต่อกันแทบทุกโรงมหรสพที่มีในพระ
นครและธนบุรี โดยพรานบูรณ์แต่งเพลงไทยสากล มีลีลาทำนองอ่อนหวานอาทิ เพลงจันทร์เจ้าขา จันทร์สวาท จันทร์ลอย จันทร์จาฟ้าจันทร์แฝงหมอก ขวัญของเรียม
ในช่วงนั้นบทเพลงประกอบละครร้องเป็นที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไปตราบจนกระทั่งความนิยมละครร้องลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาพยนตร์พูดเสียงในฟิล์ม เข้ามา
ได้รับความนิยมแทน ซึ่งทีบทขับร้องประกอบด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ความนิยมในภาพยนตร์ตะวันตกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ มีการสร้างศาลาเฉลิมกรุงในปี พ.ศ. 2474 สกุลวสุวัต ซึ่งมี มานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจิต
(เภา วสุวัต) กระเศียร วสุวัต และการะแส วสุวัต แห่งศรีกรุงภาพยนตร์ทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มหรือภาพยนตร์พูดได้เป็นครั้งแรกชื่อเรื่องว่า “หลงทาง” ดนตรีประกอบ
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ดนตรีสากลบรรเลงเพลงไทยแท มีเนื้อร้อง ทำนองที่มีเอื้อนเพียงเล็กน้อย

ซึ่งได้แก่เพลงพัดชา บัวบังใบ ฯลฯ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์โดยมีขุนวิจิตรมาตรา กำกับการแสดงและเรือโทมานิต เสณะวีนิน ประ
พันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อว่า “เพลงกล้วยไม้ซึ่งนับเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรก ในการแต่งทำนองตามหลักโน้ตสากลในประวัติศาสตร์เพลงของเมืองไทย ขับร้อง
โดย องุ่น เครือพันธ และมณี บุญจนานนท์ขับร้องหน้าเวทีสลับการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้

ที่เรียกว่าเพลงไทยสากล น่าจะเพราะ เป็นเพลงไทยที่มีเนื้อร้องภาษาไทยแต่มีท่วงทำนองลีลาและจังหวะเป็นแบบสากล

ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงกลาโหมสร้างภาพยนตร์เลือดทหารไทย” มีเพลงประกอบ 3 เพลงคือ “มาร์ชไตรรงค์ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา” และ “มาร์ชเลือดทหารไทย”
ประพันธ์โดยเรือโทมานิต เสนะวีณิน และยังมีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องที่ประพันธ์โดย เรือโทมานิต และขุนวิจิตรมาตรา เช่น ตะวันยอแสง จากเรื่อง“เลือดชาวนา” เพลงบวง
สรวงจากเรื่อง “เมืองแม่หม้าย” ฯลฯ และหลังจากที่เรือโทมานิต เสนะวีณิน ถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2479 ได้เกิดนักแต่งเพลงคนใหม่คือนารถ ถาวรบุตร มีเพลงเพลงที่เป็น
ที่นิยมมากมาย เช่น พลับพลึงไพร ชื่นชีวิต แสนอาลัย ใจสนองใจ เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2478 ทางราชการได้แต่งเพลงขึ้นอีก 2 เพลงคือเพลงชาติและเพลงเถลิงรัฐธรรมนูญ และยังมีเพลงที่สำคัญ เช่น เพลงรักเมืองไทย เพลงเลือดสุพรรณ ศึกถลาง เพลง
แหลมทอง เป็นต้น ส่วนเพลงเพื่อกองทัพนั้นได้รับความนิยมสูงมากจนถึงกับนำไปเป็นเพลงสัญลักษณ์ก่อนการฉายภาพยนตร และเมื่อสงครามระหว่างไทยกับอินโดจีนเกิด
ขึ้นเพลงปลุกใจก็ยิ่งมากขึ้น เช่นเพลงแนวรบแนวหลัง เพลงทหารไทยแนวหน้า เพลงมณฑลบูรพา เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้าง เรื่อง “เพลงหวานใจ” โดยมีขุนวิจิตรมาตราเป็นผู้แต่งบทภาพยนตร์ คำร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และกำกับการแสดง
นารถ ถาวรบุตร เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และในปีเดียวกัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นหัวหน้าวงดนตรีมีนักดนตรีที่สำคัญในวง
เช่น เอื้อ สุนทรสนาน เวส สุนทรจามร สังเวียน แก้วทิพย จำปา เล้มสำราญ คีติ คีตากร (บิลลี่) ฯลฯ มีเพลงที่ได้รับความนิยมอย่าง “ลมหวล” และ “เพลิน” จาก
ภาพยนตร์เรื่อง “แมเสื่อสาว”

ในปี พ.ศ. 2482 มีการจัดตั้งกรมโฆษณาการโดยมีวิลาศ โอสถานนท์ เป็นอธิบดีคนแรก และมีการตั้งวงดนตรีของกรมโฆษณาการเพื่อบรรเลงเพลงส่งไปกระจายตามสถานี
วิทยุและตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมี เอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง เวท สุนทรจามร เป็นผู้ช่วย นักร้องรุ่นแรก ๆ ที่สำคัญ เช่น  จุรี โมรากุล (มัณฑนา โมรากุล) ล้วน ควันธรรม
รุจี อุทัยกร สุภาพ รัศมีทัต ชวลี ช่วงวิท เป็นต้น

โดยมีนักแต่งเพลงประจำวงที่สำคัญ คือเอื้อ สุนทรสนาน เวท สุนทรจามร ล้วน ควันธรรม และแก้ว อัจฉริยะกุล ร่วมกันแต่งเพลงออกมาจำนวนหนึ่งด้วยในปี พ.ศ. 2482 เช่นกัน
 และต่อมาได้ตั้งวงดนตรี “สุนทราภรณ์ขึ้น ลักษณะของวงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นแบบตะวันตกโดยใช้เครื่องเป่าเป็นหลัก เช่น ทรัมเปต คาริเนต และมีเครื่องสายผสม เช่น
ไวโอลิน เป็นวงแบบ Big Band กำเนิดวงดนตรี สุนทราภรณ์นี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงไทยสากลในยุคปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2507 เพลงไทยสากลได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เพลงลูกกรุง และเพลงไทยลูกทุ่ง และในระยะเวลาไล่เลี่ยกันกระแสเพลงร็อกแอนด์โรล ของทางฝั่งตะวันตกอย่าง
วง เดอะ บีทเทิลส์ได้รับความนิยมอย่างมาก ในส่วนของประเทศไทยได้มีการประกวดเพลงไทยสากลแนวใหม่ชิงถ้วยพระราชทานน้ั่นคือ เพลงสตริงคอมโบ (ใช้เครื่องเป่า
ผสมกีตาร์เป็นหลัก) วงชนะเลิศคือวง ดิอิมพอสซิเบิ้ล ซึ่งเป็นวงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก         แหล่งข้อมูลจาก http://sgboy14a.wix.com/classic-producer
               
                                     


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30/ก.ย./12 23:32น. โดย ต๊ะม่อน »

ออฟไลน์ สิทธิ์99

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 161
    36
    • อีเมล์

ให้ความรู้ดีจัง ขอบคุณมากครับ


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605

ออฟไลน์ โต๊ก

  • มือสมัครเล่น
  • **
  • ออฟไลน์
  • 38
    4

ขอบคุณครับกับความรู้ความเป็นมาของเพลงไทยสากลทำให้ทำให้รู้ที่ไปที่มาของเพลงต่างๆ และวงสุนทราภรณ์ ขอบคุณมากๆอีกครั้งครับ


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605

weeniwas

  • บุคคลทั่วไป

แ่านร่วมกันกับบทความเรื่อง ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกทุ่งอที่คุณชินนำเสนอไว้ จะทำให้รู้สภาพความเป็นมา
ของวงการเพลงของไทยไ้ดีขึ้น ขอบคุณฮะ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605

ออฟไลน์ อาสา ลำปาง

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 73
    7
    • อีเมล์

ขอบคุณครับ ได้ความรู้เยอะเลยทีเดียว ^ ^

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605

ออฟไลน์ สิทธิ์99

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 161
    36
    • อีเมล์

ความรู้เพียบเลย ขอบคุณมากครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605

ออฟไลน์ ภูฤดู ปักซัว

  • Administrator
  • *
  • ออฟไลน์
  • 4207
    3176
  • เพศ: ชาย
    • อีเมล์

เป็นกระทู้ ที่อยากให้เพื่อนๆสมาชิกได้มีโอกาสอ่านกัน ครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605
<a href="http://www.clocklink.com/clocks/5032-orange.swf?TimeZone=GMT0700&amp;" target="_blank" class="new_win">http://www.clocklink.com/clocks/5032-orange.swf?TimeZone=GMT0700&amp;</a>

ออฟไลน์ ตี๋ ขอนแก่น

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 86
    5

ขอบคุณครับได้ความรู้มากครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605

ออฟไลน์ แก้วกลางไพร

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 63
    7
    • อีเมล์

ได้สาระความรู้มากเลยค่ะ ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ แต่ไม่ทราบที่มาที่ไป  :'e:95

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605

ออฟไลน์ ชัยยุทธ

  • เทพ
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 1059
    111

ได้ทั้งสาระและความรู้มากๆเลยครับ ขอบคุณมากๆครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=10605