ผู้เขียน หัวข้อ: ร้องหมู่ - เบียร์ไทย  (อ่าน 981 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ร้องหมู่ - เบียร์ไทย
« เมื่อ: 25/พ.ย./15 12:42น. »


ร้องหมู่ - เบียร์ไทย(เพลงโฆษณาประมาณ๒๔๗๘)


ปุ่ม Thank You จะอยู่ด้านบนซ้าย (อยู่ด้านหน้าปุ่มอ้างถึง)


จาก'สารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย'


ปี พ.ศ.2473 พระยาภิรมย์ภักดี ยื่นเรื่องขออนุญาตผลิตเบียร์ต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งมีพระยาโกมารกุลมนตรี เป็นเสนาบดี พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโดยเห็นว่า เบียร์เป็นสินค้าที่ชาวต่างประเทศได้ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศสยามนานแล้ว ทำให้มีเงินออกนอกประเทศมาก ถ้าสามารถผลิตขึ้นได้เองก็จะป้องกันเงินออกนอกประเทศ และประหยัด รวมทั้งได้ประโยชน์ที่จะสามารถขายได้ราคาถูกกว่า สามารถใช้ปลายข้าวแทนข้าวมอลต์ ทำให้กรรมกรไทยมีงานทำ
       
       ความคิดที่จะผลิตเบียร์ขึ้นเองของพระยาภิรมย์ภักดีนั้น เนื่องมาจากท่านมีกิจการเดินเรือเมล์ระหว่างตลาดพลูกับท่าเรือราชวงศ์โดยใช้ ชื่อว่าบริษัท บางหลวง จำกัด ต่อมารัฐบาลได้เริ่มสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและตัดถนนเชื่อมตลาดพลูและประตู น้ำภาษีเจริญ ทำให้ไม่สามารถเดินเรือได้ จึงต้องหาทางขยับขยายกิจการไปทำกิจการค้าอย่างอื่นเพื่อรองรับ เมื่อศึกษาเห็นว่าเบียร์สามารถผลิตในประเทศเขตร้อนได้ จึงได้เริ่มโครงการที่จะตั้งโรงงานผลิตเบียร์ขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
       
       เมื่อยื่นเรื่องขออนุญาตต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีการพิจารณากันอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลยังไม่เคยมีนโยบายมาก่อน
       
       ระหว่างที่รอการอนุญาตจากทางรัฐบาล พระยาภิรมย์ภักดีได้เดินทางไปเมืองไซ่ง่อน ประเทศอินโดจีน ในปี 2474 เพื่อศึกษาแบบแปลนเครื่องจักร ตลอดจนวิธีผลิตเบียร์ หลังจากรัฐบาลพิจารณาเรื่องการอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิตเบียร์และการเก็บภาษี เบียร์ผ่านไปประมาณ 1 ปี จึงได้อนุญาตให้พระยาภิรมย์ภักดีผลิตเบียร์ได้ แต่ห้ามการผูกขาด และให้คิดภาษีเบียร์ในปีแรกลิตรละ 1 สตางค์ ปีที่สองลิตรละ 3 สตางค์ ปีที่สามลิตรละ 5 สตางค์ ส่วนปีต่อๆ ไปจะพิจารณาตามที่เห็นสมควร
       
       ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม 2475 กระทรวงมุรธาธร โดยพระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลละอองธุลีพระบาท ความว่า ได้รับรายงานจากกรมสรรพสามิตว่า นายลักกับนายเปกคัง ยี่ห้อ “ทีเคียว” ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตผลิตเบียร์ขึ้นจำหน่ายในพระราชอาณาเขต โดยรับรองว่า จะผลิตเบียร์ชนิดที่ทำด้วยฮ็อพและมอลต์ชนิดเดียวกับเบียร์ต่างประเทศ โดยจะผลิตประมาณ 10,000 เฮกโตลิตรต่อปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชกระแสว่า...
       
       “เป็นเรื่องแย่งกับพระยาภิรมย์ และถ้าให้ทำก็คงทำสำเร็จก่อนพระยาภิรมย์ภักดี เพราะฉะนั้นคนที่เริ่มคิดก่อนและเป็นพ่อค้าไทยกลับจะต้องฉิบหายและทำไม่ สำเร็จ”
       
       ทรงเห็นว่าไม่ควรอนุญาต
       
       “พระยาภิรมย์ขอทำก่อน ได้อนุญาตไปแล้ว เวลานี้ยังไม่ควรอนุญาตให้ใครทำอีกเพราะจะมีผล 2 อย่าง คือ 1. คนไทยกินเบียร์กันท้องแตกตายหมดเพราะจะแย่งกันขายลดราคาแข่งกัน 2. คงมีใครฉิบหายคนหนึ่ง ถ้าหากไม่ฉิบหายกันหลายคน”
       
       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้กราบบังคมทูลสนับสนุนว่า “ไม่ควรอนุญาตให้ผลิตในเวลานี้ ควรรอดูว่า พระยาภิรมย์จะทำสำเร็จหรือไม่ และคอยสังเกตเรื่องการบริโภคก่อน นอกจากนั้นผู้ขออนุญาตรายนี้เป็นคนต่างด้าว จึงสามารถที่จะอ้างได้ว่า ต้องอุดหนุนคนไทยและอุตสาหกรรมที่มีทุนไทยก่อน” จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังตอบว่า
       
       “ยังไม่ให้อนุญาต รัฐบาลได้อนุญาตไปรายหนึ่งแล้ว ต้องรอดูก่อนว่าจะได้ผลอย่างไร เพราะเรื่องนี้สำคัญสำหรับความสุขของราษฎร และฝ่ายพระยาภิรมย์จะใช้ข้าว และผลพลอยได้ (Byproduct) ของข้าวด้วยฝ่ายรายที่ขออนุญาตใหม่ไม่ใช้ข้าวเลย”
       
       มีข้อที่น่าสังเกตที่พระยาวิษณุบันทึกไว้ว่า
       
       1. ที่จะอนุญาตให้พระยาภิรมย์นั้น ดูมีพระราชประสงค์จะอุดหนุนการตั้งโรงงานของไทย
       2. อัตราภาษี รายพระยาภิรมย์ภักดีนั้นเป็นทำนองรัฐบาลให้เป็นพิเศษแก่ผู้เริ่มคิด ให้ได้ตั้งต้นได้โดยใช้อัตราทั่วไป
       3. รายใหม่นี้ในเงื่อนไขไม่ได้กำหนดภาษีลงไป แต่คลังรายงานเป็นทำนองว่า จะเก็บภาษีอัตราเดียวกับที่จะเก็บจากพระยาภิรมย์
       4. แม้ตกลงไม่ให้โมโนโปลี (Monopoly) แก่พระยาภิรมย์ภักดี แต่ก็เคยมีพระราชดำริอยู่ว่าชั้นนี้ควรอนุญาตให้พระยาภิรมย์ทำคนเดียวก่อน ถ้าให้หลายคนก็เป็น อิคอนอมิก ซูอิไซด์ (Economic suicide)
        เบียร์ไทยที่ผลิตออกมาครั้งแรกในปี 2477 นั้นได้นำไปทดลองดื่มกันในงานสโมสรคณะราษฎรเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2477 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงเปิดป้ายบริษัทเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2477 เบียร์รุ่นแรกที่ผลิตออกมาและวางจำหน่ายในราคาขวดละ 32 สตางค์นั้นมีเครื่องหมายการค้าอยู่หลายตรา รวมทั้งตราสิงห์

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000158179


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=35115