ผู้เขียน หัวข้อ: อยากช่วยแชร์ความรู้เรื่องการใช้ computer music server ใน&  (อ่าน 3151 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ สุ บางบัวทอง

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 100
    7


 psi108

เป็นสมาชิกใหม่ที่นี่ครับ พอจะมีความรู้เรื่องการใช้ computer ในการฟังเพลง แบบ lossless หรือระบบ computer music server อยู่บ้าง

ลองค้น ๆ ดูในเว็ปนี้ พบแต่เพลงดี ๆ ที่มีคุณภาพ แต่มีเพลงในแบบ lossless ค่อนข้างน้อย และเป็นเพลงต่างประเทศซะส่วนใหญ่

เลยอยากหาพี่สมาชิกที่ฟังเพลงแบบ lossless ครับ  เห็นรายชื่อเพลงต่างๆ ที่โพสกันในเว็ปนี้แล้ว อยากฟังแบบ .wav, .flac, .m4a และ .aiff จังครับ

ท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการฟังเพลงแบบ lossless เทียบเคียงซีดี ก็ถามได้นะครับ ตอบได้จะยินดีตอบครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6745
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26/มี.ค./12 15:00น. โดย คนรักเสียงเพลง »
MAC Music Server, Software, USB to SPDIF Converter, ASRC DAC, Pre-Amp, Mono Block Power Amp. Acoustic Suspension Speaker

ออฟไลน์ เก่งจอมทอง

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 142
    307
  • เพศ: ชาย

บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร PCtoday ฉบับที่45 เห็นว่ามีประโยชน์กับพี่ๆน้องๆในเวปนี้


เลยขอนำมาให้อ่านเล่นประดับความรู้กัน


พิมนานเอาเรื่องเลยหละ หุๆ


ผมสงสัยเรื่องนี้มานานพอสมควร
เพราะมันมีรูปแบบไฟล์เยอะเหลือเกินตั้งแต่ mp3, ogg, aac, flac, wavpack
แล้วรูปแบบไหนที่มันดีสำหรับเรากัน แล้วควรจะตั้งค่ามันยังไง ตั้ง kbps เท่าไหร่
WavPack
(.wv)
เป็นรูปแบบฟรีคล้ายๆ กับ FLAC นะครับ
แต่เด่นกว่าตรงที่สามารถทำไฟล์แบบ Hybrid/lossy ได้ ก็คือมันสามารถสร้างไฟล์แบบ
lossy ได้ พร้อมกับไฟล์อีก 1 ไฟล์ที่เรียกว่า correction file เราสามารถนำไฟล์แบบ
lossy ที่มันสร้างไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องมี correction file
แต่ก็จะได้คุณภาพเสียงแบบ lossy ถ้าเราอยากได้ระดับ lossless เราก็เอา correction
file ไปใส่ไว้ในห้องของ lossy file นั้น โปรแกรมเล่นเพลงก็จะจัดการรวมกันให้เป็นแบบ
lossless ครับ แต่ข้อเสียของ WavPack ก็คืออุปกรณ์ที่รองรับยังไม่มากเท่า FLAC ครับ
การใช้งานจึงยังไม่กว้างเท่า FLAC
WavPack รองรับ sample rate ได้ตั้งแต่ 1 ถึง
16777.216 kHz ครับ ส่วน bit rate ของ lossless จะเป็น VBR แต่ในส่วนของ lossy
จะใช้ที่ 192 kbps ครับ
Windows Media Audio Lossless (.wma)
แหะๆ
ขึ้นไปอ่านรายละเอียดที่ WMA lossless ในส่วนของ lossy ครับ

Monkey’s audio
(.ape)
เป็นอีกรูปแบบไฟล์ที่เห็นกันบ้างบนอินเตอร์เน็ตครับ
แต่ไม่นิยมเท่า FLAC ข้อดีของมันก็คือบีบอัดเสียงได้เล็กกว่ารูปแบบอื่นๆ
แต่ว่าความเร็วจะไม่สูงเท่า FLAC หรือ WavPack แล้วจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับก็น้อยกว่า
FLAC ครับ ซึ่งไฟล์ชนิดนี้ก็ใช้เปิดให้ใช้ได้ฟรีเช่นกันครับ
เราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของไฟล์ชนิดนี้ได้ที่นี้ครับ
http://www.monkeysaudio.com/

เปรียบเทียบ Lossless
ซีรีย์เกาหลี ฝากรูป

เปรียบเทียบความสามารถของไฟล์รูปแบบต่างๆ ซึ่งเราจะเห็นว่า monkey
จะให้ขนาดไฟล์ที่เล็กที่สุดครับ (ดูในช่อง Compression) ก็คือเหลือ %
ของไฟล์ต้นฉบับน้อยที่สุดครับ แล้วก็สามารถเปรียบเทียบความสามารถต่างๆ เช่นการใช้
ReplayGain ว่าไฟล์ประเภทไหนที่รองรับ RG ได้ หรือความสามารถ Hybrid/Lossy
ได้จากตารางนี้ครับ
สรุปการใช้ Lossless นะครับ สำหรับคนทั่วๆ ไปที่ต้องการใช้
Lossless ผมแนะนำให้ใช้ FLAC เพราะมีโปรแกรมและอุปกรณ์จำนวนมากรองรับ
จนสามารถนำไฟล์นี้ไปใช้งานได้แพร่หลายที่สุดครับ
ส่วนคนที่จะใช้ไฟล์กับอุปกรณ์ที่รองรับไฟล์อื่นๆ อย่าง Apple Lossless หรือ Windows
media audio lossless ก็ใช้ไฟล์รูปแบบนั้นๆ ครับ
ซีรีย์เกาหลี ฝากรูป
(.ogg)
รูปแบบไฟล์ชนิดนี้เป็นรูปแบบไฟล์โปรดของผมเลยครับ
เพลงในเครื่องทุกเพลงที่ผม rip เองจะเป็นไฟล์นี้ครับ
ข้อดีของไฟล์นี้คือมีประสิทธิภาพสูง ให้เสียงคุณภาพดีกว่า mp3 ใน bit rate
ที่เท่ากัน สามารถรองรับ Sample rate ได้สูงสุดถึง 200,000 Hz ใช้ bit-rate
ได้กว้างมาก เป็น multi channel ก็ได้ แล้วก็เป็นรูปแบบไฟล์ที่ฟรีอย่างแท้จริง
ไม่มีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือค่าสิทธิบัตรการใช้ไฟล์ใดๆ ทั้งสิ้น
แต่ข้อเสียสำคัญของมันคือไม่แพร่หลายเท่า MP3 ครับ มีเพียงเครื่องเล่น MP3
บางยี่ห้อเท่านั้นที่เล่นไฟล์ชนิดนี้ได้ อืม iPod ก็เล่นได้นะครับ แต่ต้องใช้
Firmware พิเศษอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Rockbox
Ogg Vorbis เป็นชื่อรวมกันระหว่าง
Ogg ซึ่งเป็น Container และ Vorbis ที่เป็นชื่อของตัวรหัสเสียง
ถ้าเราเรียกเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้บีบอัดเสียงอย่างเดียวจะเรียกว่า Vorbis
ครับ
ด้วยความที่ Ogg Vorbis เป็นไฟล์ที่ไม่มีค่าใช้สิทธิ์
จึงถูกนำไปใช้ในงานหลายๆ แบบ เช่นเอาไปใช้ในเกม อย่าง Doom3, GTA:SA, เกมตระกูล
Unreal เป็นต้น เรียกได้ว่าแม้คนทั่วไปจะใช้ Vorbis ไม่เยอะเท่า mp3 แต่ Vorbis
ก็เป็นรูปแบบไฟล์ที่สำคัญตัวหนึ่งบนโลกคอมพิวเตอร์ครับ
Ogg Vorbis
รุ่นแรกออกมาในเดือนกรกฎาคม ปี 2002 โดย Xiph.Org Foundation ครับ
หลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเรื่อยมาจนมาถึงรุ่น 1.2.0
แต่รุ่นที่ผมจะแนะนำให้ใช้ไม่ใช่รุ่นนี้หรอกครับ เพราะ Xiph.Org
ไม่ได้พัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของประสิทธิภาพมานานแล้ว ความสามารถของรุ่นนี้จึงสู้รุ่น
aoTuV (Aoyumi's Tuned Vorbis) ที่พัฒนาโดยชาวญี่ปุ่นชื่อ Aoyumi ไม่ได้ครับ
ปัจจุบัน aoTuV อยู่ที่รุ่น Beta 5.5 ครับ ข้อมูลคราวนี้ของผมจึงอ้างอิงจาก aoTuV
Beta 5 เป็นหลักครับ

จากที่ผมเคยพูดถึงเรื่อง CBR, VBR ไปแล้วนะครับ Vorbis
ก็รู้เรื่องนี้ดี มันจึงไม่มีการบีบอัดแบบ CBR ให้เลือก มีแค่ ABR และ VBR ครับ
ซึ่ง VBR ของ vorbis จะใช้ q แทนระดับคุณภาพของเสียงดังนี้ครับ



ส่วนถ้าใครยังไม่มีตัว
Encoder ต่างๆ ที่ผมว่ามา ก็เข้าไปดูได้ใน www.rarewares.org ยกเว้น
WMA ที่ใช้
Windows media player ดาวน์โหลดจาก www.microsoft.com

Nero AAC
ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.nero.com/ena/nero-aac-codec.html
Apple AAC
ดาวน์โหลด iTunes จาก www.apple.com ครับ
Apple Lossless ก็ใช้ iTunes
เช่นกันครับ
เสียงถึงจะเดิ้น ด้วยความอยากรู้ผมจึงไปค้นข้อมูลมาอ่าน
แล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟังครับ แหะๆ
บทความนี้อาจจะซับซ้อนแล้วก็เต็มไปด้วยเรื่องทางวิทยาศาสตร์นะครับ
เพราะเสียงคือวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง ผมจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุด


เอาแหละเรามาเริ่มกันที่เรื่องพื้นฐานของเสียงกันก่อนดีกว่าครับ O o





พื้นฐานการบีบอัดเสียง
จากความรู้วิทยาศาสตร์น่าจะสมัยม.ต้น
ที่บอกว่าคนเรายินเสียงช่วงความถี่ตั้งแต่ 20 – 20,000 Hz ครับ
เจ้าเลขนี้จะบอกว่าวัตถุที่กำเนิดเสียงสั่นด้วยอัตรากี่ครั้งต่อวินาที เช่นที่ 35
Hz ลำโพงก็จะสั่น 35 ครั้งต่อวินาที เราจะได้ยินเป็นเสียงต่ำครับ
ส่วนความถี่ที่สูงๆ ขึ้นอย่าง 15,000 Hz จะได้ยินเป็นเสียงสูง
แต่ใช่ว่าทุกคนจะยินเสียงครบทั้งหมดแบบนี้หรอกครับ เพราะประสาทหูเราจะค่อยๆ
เสื่อมลง ในวัยผู้ใหญ่จึงอาจจะรับเสียงได้แค่ช่วง 20-15,000 Hz ชัดเจนเท่านั้น
ส่วนเสียงอื่นๆ ก็ยังได้ยินอยู่แต่ว่าจะได้ยินเบาลง
จนบางทีก็ไม่รู้สึกว่ามีเสียงนี้อยู่
แล้วในเรื่องเสียงภาคดิจิตอลยังมีตัวเลขอีก
2 ตัวเข้ามาเกี่ยวข้องครับ นั้นคือ bit depth เช่นที่มักเห็นเป็น 16 bit กับ 24 bit
และ sample rate อย่าง 44,100 Hz หรือ 48,000 Hz
การจะเข้าใจเรื่องนี้เราต้องเข้าใจเรื่องดิจิตอลก่อนครับ อย่างที่รู้ๆ
กันครับว่าดิจิตอลเก็บข้อมูลเป็น 0 กับ 1 แต่ถ้ามันเก็บได้แค่นี้
สงสัยเราคงได้ยินแต่เสียงอิ้ดๆ แน่ๆ
การเก็บเสียงเสียงดิจิตอลจึงต้องใช้ชุดของข้อมูล
ถึงจะเก็บข้อมูลเสียงได้ครบ
ซีรีย์เกาหลี ฝากรูป
ดูในภาพนะครับ คลื่นเสียงที่เห็นจะมีลักษณะเส้นโค้งๆ
นะครับ มีสองแกนคือแกนตั้งกับแกนนอน ซึ่ง bit depth จะเกี่ยวข้องกับแกนตั้งครับ
จำนวน bit depth คือจำนวนข้อมูลที่อ้างอิงได้ในแกนตั้งครับ ถ้าเก็บ 1 bit
จะอ้างอิงเสียงได้ 2 ค่า อย่าง 4 bit อ้างอิงได้ 16 ค่า แล้ว 16 bit จะอ้างอิงได้
65,536 ค่า จะเห็นว่ายิ่งเลขมากข้อมูลที่เก็บได้ยิ่งละเอียด


ประเภทของการบีบอัดเสียง
การบีบอัดเสียงมี
2 ประเภทครับ คือแบบ lossless กับ lossy ซึ่ง lossless
คือการบีบอัดที่ไม่มีการเสียข้อมูลเสียงเลย ต้นฉบับเป็นอย่างไร ไฟล์ที่บีบอัดแล้ว
เมื่อคลายออกมาจะเหมือนเดิมเป๊ะๆ
แต่ข้อเสียของไฟล์ประเภทนี้คือขนาดที่ค่อนข้างใหญ่กว่าแบบ lossy
พอสมควร
เราจะดูจำนวนข้อมูลที่ใช้จาก bit rate ซึ่งมีหน่วยเป็น kbps ครับ
มันย่อมาจาก kilo bit per second หรือจำนวนบิตที่ใช้ใน 1 วินาที
ยิ่งใช้บิตต่อวินาทีมาก จะเก็บข้อมูลได้มาก
แต่ขนาดไฟล์ก็จะยิ่งใหญ่ครับ
อย่างไฟล์ FLAC กับเพลงยาว 5 นาที จะใช้พื้นที่ราวๆ
30 Mb ถ้าดูที่ bit rate ก็จะใช้ราวๆ 900 kbps (เพลงในแผ่น CD จะใช้ bit rate ที่
1411 kbps ครับ) เทียบกับ mp3 ทั่วๆ ไปที่ใช้ 128 kbps ก็จะใหญ่กว่า 8-9
เท่าเลยทีเดียว แต่แน่นอนว่าเสียงดีกว่ากันแบบเทียบกันไม่ได้เลย
รูปแบบไฟล์ที่เป็นแบบ lossless ก็เช่น FLAC, WavPack, Apple Lossless, WMA Lossless
ครับ ส่วน wav ไม่ถือว่าเป็น lossless นะครับ เพราะไม่ได้บีบข้อมูลอะไร
ส่วน
Lossy คือการบีบอัดที่ทิ้งข้อมูลออกไปบ้าง เช่นเสียงสูงๆ เหนือกว่า 15000 Hz
ก็จะถูกตัดทิ้งออกไป ส่วนจะตัดอย่างไรบ้างขึ้นอยู่กับโมเดลเสียงที่มนุษย์รับรู้
(psychoacoustic model) ที่อยู่ในโปรแกรมเข้ารหัสเสียงครับ (Encoder)
แล้วจะตัดเยอะแค่ไหนขึ้นอยู่กับ bit rate ที่ใช้ ยิ่งใช้ค่าสูง ก็จะตัดข้อมูลน้อย
ไฟล์ยิ่งใหญ่ เสียงยิ่งดีครับ ที่นี้จึงเป็นปัญหาของเราว่าควรจะใช้ bit rate
เท่าไหร่ดี อ่านไปเรื่อยๆ ครับผมจะอธิบายให้ฟัง ส่วนรูปแบบไฟล์ที่เป็น Lossy ก็เช่น
mp3, mp2, ogg, wma, aac ครับ
ข้อควรจำนะครับ ด้วยความที่ lossy
มีการตัดข้อมูลออกมาบ้างระหว่างการแปลงไฟล์ เราจึงควรหลีกเลี่ยงการนำไฟล์ lossy
มาแปลงไฟล์ซ้ำๆ ครับ เช่นเอา mp3 ที่ 128 kbps มาแปลงเป็น ogg ที่ 160 kbps
เสียงที่ได้ก็จะแย่กว่า mp3 ด้วยซ้ำ เพราะข้อมูลเรามีอยู่เท่านี้
แต่เราไปแปลงมันอีก ให้มันตัดทอนข้อมูลลงไปอีกครับ รวมถึงการแปลงจาก lossy ไปยัง
lossless ด้วยนะครับ อย่าง mp3 -> flac ขนาดไฟล์จะใหญ่ขึ้นมาก
แต่คุณภาพก็เท่ากับ mp3 นั้นแหละครับ เออ การเซฟเป็นไฟล์แบบ lossy ซ้ำๆ
ก็ทำให้เสียคุณภาพได้ด้วยนะครับ อย่างเราเปิดไฟล์ mp3 ขึ้นมาตัดต่อ
แล้วเซฟทับลงไปในไฟล์เดิม ยิ่งเซฟทับบ่อยครั้งเท่าไหร่
คุณภาพไฟล์ก็จะเสียไปเยอะเท่านั้นครับ
สรุปนะครับ ถ้าต้องการเสียงดีๆ
หรือเก็บไฟล์ระดับที่เทียบเท่าต้นฉบับ
แบบว่าถ้าแผ่นต้นฉบับพังแล้วเอาไฟล์นี้ไปไรท์ใหม่ จะได้คุณภาพเท่าเดิมเลย
ให้ใช้ไฟล์แบบ lossless ครับ แต่ถ้าพื้นที่น้อย แล้วลองฟังดูแล้ว
แยกความแตกต่างระหว่างเสียงจาก Lossless และ Lossy ไม่ได้ ก็บีบเป็นพวก Lossy
ก็ได้ครับ

Lossless
ผมเขียนมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกว่าบทความนี้มันยาวจังเลย
คุณผู้อ่านจะยังอยู่กับผมถึงตรงนี้รึปล่าวนะ แล้วทั่น บก.
จะหั่นบทความผมไปเยอะรึปล่าวก็ไม่รู้ 555 ทำตัวไม่สนใจแล้วเล่าเรื่องต่อ
เรามาถึงส่วนของ Lossless แล้วครับ เป็นส่วนของผู้รักเสียงเพลงอย่างแท้จริง
ในส่วนนี้ผมจะไม่พูดถึงคุณภาพเสียงของรูปแบบต่างๆ นะครับ เพราะแบบ Lossless
จะให้คุณภาพเสียงเหมือนต้นฉบับในทุกรูปแบบไฟล์ต่างๆ
แต่จุดที่ทำให้แต่ละรูปแบบแตกต่างกันจะอยู่ที่ความสามารถในการบีบอัด
และการรองรับจากอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ งั้นเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
FLAC (Free Lossless Audio Codec)
(.flac)
เป็นรูปแบบของ Lossless ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดตัวหนึ่งครับ
ด้วยความที่เป็นรูปแบบฟรี ไม่มีค่าใช้สิทธิ์ใดๆ แล้วยังเป็น open source อีกด้วย
ในต่างประเทศ FLAC จึงได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ข้อดีของมันนอกจากที่ฟรีแล้ว
ยังทำงานได้รวดเร็ว แล้วก็มีโปรแกรมและอุปกรณ์รองรับมากมาย เช่น Winamp รุ่น 5.5
ก็สามารถเปิด FLAC และ rip เพลงเป็น FLAC ได้โดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม หรือ iPod
ก็รองรับ แต่จะต้องใช้ fireware พิเศษที่ชื่อว่า rockbox
(ตัวเดียวกับที่ทำให้รองรับ ogg Vorbis) ก็จะเล่นไฟล์ชนิดนี้ได้ แต่ข้อเสียของ FLAC
ก็อยู่ที่ความสามารถในการบีบอัดเพลงน้อยกว่ารูปแบบอื่นๆ อย่าง monkey’s audio
อยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก
FLAC รองรับ sample rate ตั้งแต่ 1 Hz ถึง 1048.57 kHz
ครับ bit depth ก็ใช้ได้ถึง 32 bit ครับ ปัจจุบัน FLAC อยู่ที่รุ่น 1.2.1
แล้วก็ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของ xiph.org ไปแล้ว บางทีจึงอยู่ใน container OGG
ได้

เครดิตท่านARM-KMUTNBครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6745
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15/เม.ย./12 11:47น. โดย เก่งจอมทอง »


เมา-ลึกบ่อกลัว กลัวอู้บ่อรู้เรื่อง ^^

ออฟไลน์ สุ บางบัวทอง

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 100
    7

 psi106  ขอบคุณมากครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=6745
MAC Music Server, Software, USB to SPDIF Converter, ASRC DAC, Pre-Amp, Mono Block Power Amp. Acoustic Suspension Speaker