ผู้เขียน หัวข้อ: โรคต้อกระจก  (อ่าน 1836 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงพล ลำพูน

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 507
    469
  • เพศ: ชาย
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !
โรคต้อกระจก
« เมื่อ: 16/ก.ค./17 12:10น. »


 ต้อกระจก เป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์แก้วตาที่มีความขุ่นเกิดขึ้นจากเดิมที่เคยใส การเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนมากเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ความขุ่นนี้จะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ
       
       “แก้วตา” เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในลูกตาทางด้านหน้า และมีหน้าที่สำคัญในการรวมแสงที่เข้ามาในลูกตาให้ตกบนจอประสาทตา เพื่อส่งต่อไปยังสมอง และแปลเป็นภาพที่เรามองเห็นในท้ายที่สุด เมื่อแก้วตาขุ่นจะทำให้แสงผ่านไปถึงจอประสาทตาลดลง และมีผลกระทบต่อการรวมแสงที่บริเวณจอตาด้วย
สาเหตุของต้อกระจก
       1.   ภาวะสูงอายุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
       2.   อุบัติเหตุที่ดวงตา เช่น โดนกระแทก, ถูกของมีคม ซึ่งพบรองลงมา
       3.   โรคอื่นของตา เช่น การอักเสบในลูกตา
       4.   โรคทางกาย เช่น เบาหวาน
       5.   เป็นแต่กำเนิด เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย
       
       ต้อกระจกมีอาการอย่างไร?
       ผู้ที่เป็นต้อกระจกจะมีตามัวลงเหมือนมีหมอกหรือฝ้าบัง มักมัวมากตอนกลางวันหรือเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้า และเห็นชัดในตอนกลางคืน บางรายเห็นภาพซ้อน หรืออาจพบมีสายตาสั้นและต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ ถ้าเป็นช่วงแรก การใส่แว่นตาอาจช่วยให้เห็นชัดขึ้น แต่เมื่อเป็นมากแม้ใส่แว่นก็ไม่ช่วยให้เห็นดีขึ้น นอกจากนั้นบางรายอาจมีการเห็นสีเปลี่ยนไป ในรายที่เป็นมากอาจพบมีโรคต้อหินแทรกซ้อนได้
 การรักษาต้อกระจก
       ต้อกระจกสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น การผ่าตัดรักษาต้อกระจก ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน คือ การเอาเลนส์ที่ขุ่นขาวออก และการใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ในตำแหน่งเดิม เพื่อปรับสายตาให้สามารถมองเห็นได้เป็นปกติ
       
       วิธีการผ่าตัด
       ก่อนผ่าตัดจะมีการหยอดยาชาหรือฉีดยาชา เพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บตลอดการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด
       
       1.   การผ่าตัดต้อกระจก (Extracapsular cataract extraction)
       ในรายที่มีต้อกระจกสุก คือขุ่นและเนื้อแข็งมาก จะไม่สามารถเอาออกผ่านทางแผลเล็กได้ เพื่อความปลอดภัย แพทย์จะผ่าตัดเอาออกผ่านแผลใหญ่ กว้างประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เพื่อนำต้อกระจกออก และเหลือถุงหุ้มเลนส์เอาไว้ เพื่อใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ หลังจากนั้นจะเย็บแผลปิด เป็นอันเสร็จ
      2. การสลายต้อกระจก (Phacoemulsification)
       เป็นการรักษาที่ทันสมัย และแผลผ่าตัดเล็กกว่าวิธีแรกมาก มีขนาดประมาณ 2.2-3.0
       มิลลิเมตร ทำโดยการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ที่มีความถี่สูง ผ่านทางเครื่องมือที่สอดเข้าไปใน
       ตาผ่านแผลผ่าตัด เมื่อสลายและดูดเอาต้อกระจกออกหมด จะเหลือถุงหุ้มเลนส์ เพื่อเอาไว้
       ใส่เลนส์แก้วตาเทียม วิธีนี้มักไม่ต้องเย็บแผลหรือเย็บเพียงเล็กน้อยในบางราย เนื่องจาก
       แผลผ่าตัดขนาดเล็ก มีความแข็งแรงและสมานได้เอง การผ่าตัดวิธีนี้ แผลจะหายเร็ว มีอาการ
       เคืองจากแผลน้อย สายตาเอียงจากการผ่าตัดน้อยกว่า และใช้สายตาภายหลังการผ่าตัดได้
       อย่างรวดเร็ว
 เลนส์แก้วตาเทียมคืออะไร?
       เลนส์แก้วตาเทียม คือวัสดุสังเคราะห์ซึ่งไม่มีปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อลูกตา เดิมมีแต่ชนิดแข็ง แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นชนิดนิ่มและพับได้ จึงสามารถใส่ผ่านแผลผ่าตัดขนาดเล็กได้ เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่ในลูกตาจะมีอายุการใช้งานตลอดชีวิต หลังการผ่าตัด 4-6 สัปดาห์ แผลที่ตาจะหายสนิทดีและผู้รับการผ่าตัดจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำงานหนักได้ตามปกติ จะไม่มีการเคลื่อนของเลนส์แก้วตาเทียม ยกเว้นจะได้รับอุบัติเหตุกระแทกที่ตาอย่างรุนแรง อาจมีผลให้เลนส์เคลื่อนและการมองเห็นลดลงทันที
       
       นอกจากนั้น ในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยี Wavefront ซึ่งใช้ในการทำ LASIK มาใช้ในการตรวจวิเคราะห์กระจกตา และออกแบบเลนส์แก้วตาเทียม ทำให้ช่วยเพิ่มความคมชัดและคุณภาพการมองเห็นมากขึ้น โดยเฉพาะในสภาวะที่มีแสงน้อย หรือแสงสลัว
การมองเห็นหลังการผ่าตัด
       หากผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติหรือโรคของส่วนอื่นของตา เส้นประสาทตา หรือสมองที่ควบคุมการมองเห็น และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีการมองเห็นที่ดีขึ้นหลังผ่าตัด ดังนั้นหากพบว่าหลังการผ่าตัดมีตามัวลง ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรักษาต่อไป


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=37905

ออฟไลน์ พีรชา

  • ปรมาจารย์
  • ***
  • ออฟไลน์
  • 444
    138
Re: โรคต้อกระจก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 16/ก.ค./17 13:44น. »

 psi200ขอบคุณ คุณทรงพล ลำพูน ที่นำเรี่องราวสุขภาพของดวงตามาฝากกันนะครับ อีกสามปีผมก็ห้าสิบแล้ว
จะได้ป้องกันได้ทัน เกิดมาไม่เคยอายุมากขนาดนี้เลยครับ!  :'e:31ขอบคุณครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=37905