ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะใจสั่น  (อ่าน 2116 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงพล ลำพูน

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 507
    469
  • เพศ: ชาย
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !
ภาวะใจสั่น
« เมื่อ: 04/ก.ค./17 17:51น. »


       ภาวะใจสั่น คือการรับรู้การเต้นของหัวใจเร็วหรือแรงขึ้น การรู้สึกอาจกินเวลาเป็นวินาที นาที ชั่วโมง หรือเป็นวัน ซึ่งอาจมีสาเหตุโดยการเต้นของหัวใจช้าเกินไป เร็วเกินไป แรงเกินไป หรือเต้นผิดจังหวะมากกว่าปกติ ภาวะใจสั่นพบได้บ่อยและส่วนใหญ่มักไม่อันตราย การเต้นที่ผิดจังหวะมักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงวงจรไฟฟ้าของหัวใจ โดยอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ การเสื่อมของลิ้นหัวใจ หรือเกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติของตัวมันเอง
       
       ในภาวะปกติของการเต้นหัวใจ อยู่ภายใต้จุดกำเนิดออโตเมติกหรือจุดกำเนิดไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่เรียกว่า เอส เอ โหนด ซึ่งอยู่ที่หัวใจห้องขวาบน ถ้ามีจุดอื่นๆ ในหัวใจสามารถก่อกำเนิดจุดไฟฟ้าเองได้ก็เรียกว่า การกระตุกหรือกระตุ้นไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งจะรู้ได้ง่ายช่วงออกกำลังกาย ขณะที่มีการหลั่งสารอะดรีนาลินออกมา หรือขณะอยู่เฉยๆ ช่วงที่หัวใจเต้นช้าหรือมีการเบี่ยงเบนจากการเต้นหัวใจช่วงที่ปกติ อาจจะเป็นช่วงของปกติก็ได้ที่จะมีการเต้นผิดจังหวะบ้างและบางคนก็รับรู้ได้ว่ามีการกระตุกของหัวใจ
       สารคาเฟอีน เหล้า ภาวะเครียด อ่อนเพลีย ภาวะขาดสารน้ำ เจ็บป่วย ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานมากเกินไป และยาบางชนิด อาจกระตุ้นภาวะใจสั่นมากขึ้น การเต้นหัวใจเร็วเกินไปหรือใจเต้นเร็วที่เกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติมักเกิดขึ้นในทันทีทันใด และหยุดทันทีทันใด บางครั้งเป็นการยากที่จะชี้วัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใดและหยุดเมื่อใด
       
       ถ้าภาวะหัวใจเต้นเร็วมากๆ อาจจะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อย หรือเวียนศีรษะ บางครั้งหัวใจเต้นเร็วมากจนไม่สามารถพยุงความดันโลหิต ก็อาจจะเกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะได้
 ถ้าอาการเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ เริ่มต้นและหยุดทันทีทันใดโดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ หรือสัมพันธ์กับอาการเวียน วูบ หน้ามืด มักเกิดจากวงจรไฟฟ้าเต้นผิดปกติ มากกว่าภาวะตื่นเต้น เครียด หรือการออกกำลังกาย ซึ่งมักมีการเต้นเร็ว ค่อยๆ เป็น และค่อยๆ เต้นช้าลง
       
       การวินิจฉัยเพื่อค้นหาว่ามีการเต้นของหัวใจผิดปกติบ้างไหมที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ บางครั้งเราอาจจะรู้สึกหัวใจเต้นแรงได้ช่วงที่ตะแคงซ้ายในช่วงกลางคืน หรือระหว่างช่วงตื่นเต้นตกใจ หรือช่วงเครียด วิธีดีที่สุดของการวินิจฉัยคือการทำกราฟหัวใจช่วงที่เกิดอาการ ถ้าอาการผิดปกตินานพอที่จะไปทำกราฟหัวใจที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุด หรือถ้าเป็นไม่นานพอก็อาจจะต้องติดเครื่องบันทึกการเต้นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงไปที่บ้าน นอกจากนี้การเดินหรือวิ่งสายพานอาจจะพบการเต้นผิดปกติขณะที่มีการบันทึกการเต้นหัวใจ

        การรักษา
       
       การรักษาหัวใจในภาวะใจสั่นขึ้นอยู่กับการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันขนาดไหน และความรุนแรง หรืออันตรายของการเต้นหัวใจผิดจังหวะ ในภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง คงจะไม่ต้องใช้ยา คงให้แค่คำแนะนำหรือการแก้ไขบางอย่าง เช่น การเป่าลมลงไปที่ทวาร หรือใช้ใบหน้าจุ่มลงในน้ำเย็น 1-2 นาที ถ้าอาการเกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติ เป็นบ่อยหรือรุนแรงก็อาจจะต้องใช้ยา หรือการจี้ด้วยกระแสไฟฟ้าหรือสายเย็น เพื่อทำให้วงจรไฟฟ้านั้นหายไป
       
       การจี้ คือการใส่สายสวนขนาดเล็กๆ ขึ้นที่ขาหนีบไปที่ภายในห้องหัวใจ เพื่อค้นหาจุดกำเนิดที่ผิดปกติ แล้วทำการจี้ด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อให้จุดกำเนิดนั้นหายไป
       
       บางครั้งหัวใจที่เต้นผิดจังหวะอาจจะต้องใช้ยาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวงจรไฟฟ้าของหัวใจจะช่วยในการตัดสินการรักษาสำหรับปัญหาของท่าน


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=37870