ผู้เขียน หัวข้อ: นอนกรน ปัญหาใหญ่ เสี่ยง! หยุดหายใจขณะหลับ  (อ่าน 1822 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ แมวดำ

  • ปรมาจารย์
  • ***
  • ออฟไลน์
  • 333
    519
  • เพศ: ชาย
  • ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
    • @pump_upp - best crypto pumps on telegram !
    • อีเมล์


.......ถ้ามีอาการปวดหรือมึนศีรษะตอนเช้า นอนหลับไม่สนิทหรือรู้สึกนอนไม่พอทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อดนอนหรือบางทีนอนมาก 8-10 ชม. ยังรู้สึกไม่พอ แถมตอนยังกลางวันยังง่วงมากกว่าปกติ จนบางครั้งต้องแอบหลับ หรือคนที่เวลานอนแล้วมีอาการกรนด้วย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ทางเดินหายใจอุดกลั้นและการหยุดหายใจขณะหลับได้
       
       การนอนกรนเป็นอาการที่พบได้ในคนทั่วไป มีการศึกษาพบว่า 45% ของคนปกติจะมีอาการนอนกรนบางครั้งเช่น เหนื่อยมาก ๆ , ดื่มเครื่องดื่มแอลกอออล์ หรือ ความเสี่ยงอย่างอื่นที่ทำให้นอนกรน เช่น อ้วน น้ำหนักมาก เป็นภูมิแพ้หรือคัดจมูกทำให้หายใจไม่สะดวก , ต่อมทอมซิลหรือ ต่อม Adenoid โตมาก
       
       เมื่อไรที่เรียกว่าผิดปกติ
       
       มีอาการของการหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นด้วย เช่น คนที่นอนด้วยข้าง ๆ บอกว่า กรนมากแล้วมีการสังเกตเห็นช่วงที่หยุดหายใจไปเกิน 10 วินาทีต่อครั้ง หรือในบางรายทำให้หลับไม่สนิท ประกอบกับมีอาการรู้สึกนอนไม่เพียงพอตลอดเวลา หรือง่วงตลอดในเวลากลางวันทั้งๆ ที่ไม่ได้อดนอน
       
       หยุดหายใจเกิดขึ้นได้อย่างไร
       
       ธรรมชาติของการนอน คลื่นสมองขณะหลับจะทำงานเป็นระดับ โดยในขณะที่หลับลึก กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะคลายตัวส่งผลให้เกิดลิ้นตก ผนังทางเดินหายใจหย่อนคล้อยมาปิดทางเดินหายใจ ทำให้ขาดออกซิเจนช่วงสั้น ๆ ได้
       
       หยุดหายใจแล้วเกิดอะไรขึ้น
       
       เมื่อมีการหยุดหายใจ ร่างกายขาดออกซิเจนสมองจะถูกกระตุ้นให้ตื่น เพื่อให้กล้ามเนื้อการหายใจกลับมาทำงานอีกครั้ง ส่งผลให้การนอนไม่มีประสิทธิภาพ สมองไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริง
       
       เมื่อไรที่ต้องตรวจ
       
       เมื่อนอนกรนเป็นประจำ แล้วมีอาการร่วมดังที่กล่าวไปข้างต้น มีความจำเป็นต้องทำการตรวจ Sleep test เพื่อวินิจฉัย และเข้ารับการรักษา
       
       ตรวจอย่างไร
       
       การทำ Sleep test ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน โดยทำการติด Sensor วัดออกซิเจน การเต้นของหัวใจ , การทำงานของกระบังลม , คลื่นสมอง เพื่อเก็บข้อมูลในขณะที่หลับเพื่อใช้วินิจฉัยโรค
       
       วิธีการรักษา
       
       หากตรวจพบความผิดปกติ จากการทำ Sleep test ในขณะที่ตรวจจะมีการใส่หน้ากาก และ เครื่องช่วยหายใจเพื่อพ่นลมกับออกซิเจน เข้าไปเพื่อทำให้ผู้ป่วยไม่ขาดออกซิเจน การรักษาหลักคือ การใส่เครื่องช่วยหายใจ โดยเครื่องจะทำการพ่นลมผสมกับออกซิเจน ผ่านทางหน้ากากเข้าไปตลอดเวลาที่ใส่เครื่อง เพื่อไปถ่างทางเดินหายใจไว้ไม่ให้ทางเดินหายใจอุดกั้น และส่งออกซิเจนเข้าไปในปอดเพื่อทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน
       
       คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงนอนกรน
       
       1.ลดน้ำหนัก 2.ออกกำลังกาย 3.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4.นอนตะแคง

ขอบขอบคุณข้อความดีๆ จากASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113726


ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=34629