ผู้เขียน หัวข้อ: อัญชัน สวย มีคุณค่า  (อ่าน 2201 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อัญชัน สวย มีคุณค่า
« เมื่อ: 28/ม.ค./13 22:11น. »


                                           ประโยชน์ของ  ดอกอัญชัน

                              หลายคนเองก็คงจะเคยเห็นดอกอัญชันคามแถวริมทาง หน้าบ้าน หรือที่ต่างๆที่มีพืชต่างๆขึ้นอยู่ เราจะสังเหตุเห็นเป็น ดอกสีม่วงสด บางคนก็ไม่ได้สนใจอะไร แต่หารู้ไม่ว่า เจ้าดอกอัญชันนี่แหละ สมุนไพรที่มีสรรพรคุณอย่างดีเลยทีเดียวล่ะ ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงในส่วนของสายตา การบำบัดรักษาโรคต่างๆ หลายคนคงจะสงสัยแล้วล่ะสินะครับ ว่ามันสามารถบำรุงสายตาได้อย่างไร รักษาหรือบำบัดโรคต่างๆได้อย่างไร มีสรระคุณของอัญชันอย่างไรบ้าง วันนี้เราได้รวบรวมสรรพคุณต่างๆที่น่าสนใจ และวิธีทำในการนำมารับประทานด้วยนะครับ หลายๆคนจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วยกันนะครับ เดี๋ยวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ
       เรามาดูในส่วนของ ดอก เมล็ด ใบ ราก กันนะครับซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในดอกอัญชันนั้นมีส่วนประกอบ ดังนี้คือ
มีสารอดีโนซีน (adenosine) สารแอฟเซลิน (afzelin) สารอปาราจิติน (aparajitin) กรดอราไชดิก (arachidic acid) สารแอสตรากาลิน (astragalin) กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy) สารเคอร์เซติน (quercetin) และสารซิโตสเตอรอล เป็นต้น และในส่วนของดอกมีสารแอนโทไซอานิน
             สรรพคุณและวิธีใช้ของดอกอัญชัน
จะนำมาใช้ในการรักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง สามารถกินเป็นผักได้ ทั้ง จิ้มน้ำพริกสดๆ หรือชุบแป้งทอด และอย่างที่บอกไปนะครับ ดอกอัญชันยังมีสารแอนโธไซ ยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเล็กๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมและนัยน์ตามากขึ้น สารแอนโทรไซยานินนี้จะพบในผลไม้และดอกไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีม่วง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ โดยที่พืชจะสร้างสารนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันดอกหรือผลตัวเอง จากอันตรายของแสงแดดหรือโรคภัย
           สรรพคุณเมล็ดของอัญชัน
เราสามารถนำมาทำเป็นยาระบาย?
           สรรพคุณใบและรากของอัญชัน
อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย? ชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ  คนสมัยก่อนจะใช้น้ำที่คั้นจากดอกอัญชัญทาผม หนวด เครา และคิ้วเพื่อให้ขึ้นดกดำ?? นอกจากนี้ยังใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วดกดำ ?และในปัจจุบันยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด ?สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน และเมื่อเติมน้ำมะนาว ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง ?ใช้แต่งสีขนม? ?ใช้แต่งสีอาหารเช่น หุงข้าวผสมสีด้วยน้ำที่คั้นจากดอกอัญชัญ จะได้ข้าวสีน้ำเงินอมม่วงสวยงามน่ารับประทาน   นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกอัญชัญตากแห้งมาชงดื่มแทนน้ำชาได้อีกด้วย? ข้อแนะนำในการดื่มน้ำดอกอัญชัญควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา? ไม่ควรดื่มน้ำจากสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆเพราะจะทำให้ เกิดการสะสมของสารบางชนิด? ที่ออกฤทธิ์เป็นผลเสียต่อร่างกายได้   สามารถนำกลีบดอกสด ตำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ใช้เป็น indicator แทน lithmus   ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู
     สรรพคุณของอัญชัน
ราก : รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดฟัน ทำ ให้ฟันทน
น้ำคั้นจากใบสดและดอกสด : ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ มืดมัว
น้ำคั้นจากดอก : ใช้ทาคิ้ว ทาหัว เป็นยาปลูกผม (ขน) ทำให้ ผมดกดำเงางาม
สีจากดอกอัญชัน ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin ใช้ ทำสีขนม เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้ น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีเปลี่ยน ไปตามความเป็นกรดด่าง คล้าย กระดาษลิตมัสที่ใช้ตรวจสอบความ เป็นกรดด่างของสารละลาย
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากน้ำดอกอัญชันมีดังนี้
เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
ใช้เป็นสีผสมอาหาร
ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น ?นื่องจากดอกอัญชัญมีสารที่จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ? เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น? และความสามารถของสารแอนโธไซยานินในดอกอัญชัญยังเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น ทำให้เซลล์รากผมแข็งแรงขึ้น
ในตำรายาไทยโบราณยังได้กล่าวถึงสรรพคุณของดอกอัญชันไว้ว่า ?รากมีรสเย็นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้ตากอักเสบ ตาฟาง ตาแฉะ นอกจากนี้ยังมีการนำรากอัญชันมาถูฟันแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันคงทนแข็งแรง เมล็ดใช้เป็นยาระบายแต่จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน
นับเป็นความมหัศจรรย์ ของสมุนไพรอีกชนิด? ที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้สอยมากมาย อีกทั้งยังปลูกง่ายหาได้ทั่วไป? ดอกอัญชัญนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกร่างกายแล้วยังปลูกไว้ เป็นรั้วสีสวยดูสบายตาได้อีกด้วย เคยเห็นผู้เฒ่าผู้แก่เอามาเสียบกับก้านทางมะพร้าวนำไปใส่แจกันบูชาพระสวยดี อีกด้วย
วิธีทำน้ำดอกอัญชัน
น้ำดอกอัญชัน
ส่วนผสม
น้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วย
น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำ ผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำน้ำดอกอัญชัน
นำดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อ
เติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาที
แล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้ม
วิธีทำน้ำเชื่อม
น้ำเปล่า 500 กรัม, น้ำตาลทราย 500 กรัม
นำ น้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ
อีกวิธีหนึ่ง
นำดอกอัญชันตากแห้งประมาณ 25 ดอก ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มแทนชา หรือใช้ดอกแห้ง สัก 10 ดอก/แก้ว แทนดอกสด 5 ดอก ใช้ดอกแห้งเรียกว่าชาอัญชัน จะไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว และไม่มีรสชาติ สามารถปรุงแต่งรสได้ตามชอบ เช่น น้ำผึ้ง,น้ำตาล,น้ำมะนาว เป็นต้น



+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=13120

ออฟไลน์ ประยุทธ

  • เซียน
  • ****
  • ออฟไลน์
  • 492
    15
Re: อัญชัน สวย มีคุณค่า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22/ก.พ./13 19:59น. »

ปัจจุบัน ดอกอัญชันกำลังเป็นที่นิยม ใช้เป็นผักทานกับน้ำพริกก็ได้ ทานกับขนมจีนก็ได้ ผสมข้าวก็สีสวยน่าทาน และทำเป็นน้ำดื่มก็ได้ ประโยชน์ของอัญชันมากมายเลยครับ และได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นมาก

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=13120

ออฟไลน์ ทศพร ขอนแก่น

  • มือสมัครเล่น
  • **
  • ออฟไลน์
  • 49
    3
  • เพศ: ชาย
  • เด็กมือใหม่
Re: อัญชัน สวย มีคุณค่า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 27/ก.พ./13 09:24น. »

ครับ ผมพึ่งปลูกไว้ครับ  ผมปลูกเพื่อว่า มันสวยสบายตาเท่านั้นครับ คามรั้ว จะนำประโยชน์ของอัญชันมาใช้ครับ

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=13120

ออฟไลน์ ตู่ ลำพูน

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 583
    114
  • เพศ: ชาย
Re: อัญชัน สวย มีคุณค่า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 19/เม.ย./13 19:08น. »

วันก่อนได้ดอกอัญชันแห้งมาจากตลาด2ถุงชาวบ้านมาขาย....อัญชันเป็นดอกไม้สีสวยมีประโชน์ทางยา....ขอบคุณลุงชัย นรา ครับสำหรับบทความที่นำมาฝาก :'e:94 :'e:94

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=13120