ผู้เขียน หัวข้อ: พ่อนาคเอ๋ย - คำรณ สัมบุญณานนท์ (..บวชร้อยชาติก็ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมของแม่เรา..)  (อ่าน 1714 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ วิทยา

  • VIP
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 576
    1107




<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1413448797.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.swfcabin.com/swf-files/1413448797.swf</a>
พ่อนาคเอ๋ย - คำรณ สัมบุญณานนท์
คำร้อง / ทำนอง อาจารย์ สุเทพ โชคสกุล


"สุเทพ โชคสกุล" ครูเพลงที่น้อยคนจะรู้จัก     
สุเทพ โชคสกุล เดิมชื่อสงัด โชคสกุล บิดาชื่อนายเวส มารดาชื่อนางเม้า
เกิดวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2470 ที่บ้านตั้งใหม่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าพี่เลี้ยง
อำเภอเมือง สุพรรณบุรี มีนิสัยชอบการร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก โดยติดตาม
พี่ชายไปเป็นคนตีฉาบ ตีฉิ่ง ตีกลอง ได้รับค่าแรงโดยไม่ต้องขอเงินจากทางบ้าน
เริ่มหัดดนตรีโดยจริงจัง  โดยพี่ชายให้หัดเป่าแตรก่อน จนได้เป่าแตรหน้าโรงหนัง
ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ ได้ดูหนังดูละครทุกเรื่องจนนำมาร้องได้หมด เมื่อสิ้นสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ท่านได้สมัครเป็นครูประชาบาล ด้วยความสามารถที่ท่านได้เป่าแตรวงเก่า
จึงได้รับเลือก เพราะในเมืองตั้งวงแตรวง ขยันสอบวิชาชุดจึงได้ครูพิเศษมัธยม
ได้เคยตั้งวงดนตรีและทำแผ่นเสียงเอง มีนักร้องนักดนตรีมากมาย ผลงานที่ฝากไว้
กับคนรุ่นหลัง  ท่านแต่งเพลงประกอบการศึกษาไว้มากมาย นักเรียนคงเคยได้ยิน
เพลงประกอบบทเรียน เช่น เพลงความเกรงใจ เพลงงานสิ่งใด เพลงตรงต่อเวลา
ท่านได้แต่ง เพลงชีวิตครูให้คำรณ สัมปุญญานนท์ ร้อง และประสบผลสำเร็จมาก
ทางบริษัทบันทึกแผ่นเสียงเห็นว่าดี จึงได้ติดต่อให้ท่านแต่งเพลงเกี่ยวกับครูอีก
คือเพลงแม่พิมพ์ของชาติ มอบให้วงจันทร์ ไพโรจน์ เป็นผู้ขับร้อง และกลายมาเป็น
เพลงอมตะอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ ผลงานเพลงที่แต่งแล้วประสบความสำเร็จ
นักร้องรุ่นหลังๆ นำมาขับร้องกันใหม่ก็มีอีกมาก เช่น เพลงมนต์การเมือง
เพลงหวยใต้ดิน เป็นต้น เกียรติที่ภาคภูมิใจ เคยประกวดร้องเพลงค่าน้ำนม
ชนะเลิศได้แหวนทองคำ ได้เป็นศึกษานิเทศก์เพราะผลงานดีเด่นมาก โดยเฉพาะ
การเป็นผู้นำการสอนหนังสือด้วยเพลง เป็นคนแรกของประเทศไทย ถึงขนาดลงทุน
ทำแผ่นเสียงหวังกระจายความคิดทั่วประเทศ ประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักไปจนถึง
ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายนิเทศการศึกษาของจังหวัดสุพรรณบุรี
ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชาเพลงประกอบการเรียน สุดท้ายได้รับโล่เพลงเกียรติยศในงาน
กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2532...
................................................
นำมาจาก
http://www.ryt9.com/s/tpd/1067915



ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=29804