ผู้เขียน หัวข้อ: เรฟูจี (Refugee)-คาราบาว  (อ่าน 2717 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ chin khalang

  • Administrator
  • *****
  • ออฟไลน์
  • 192
    322
  • ยินดียิ่งแล้วแขกแก้วมาเยือน
    • อีเมล์
เรฟูจี (Refugee)-คาราบาว
« เมื่อ: 30/ต.ค./11 07:20น. »


    เรฟูจี - คาราบาว
<a href="http://www.swfcabin.com/swf-files/1319930271.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.swfcabin.com/swf-files/1319930271.swf</a>

ท้องฟ้ากว้างกลางน้ำเรือลำน้อยล่องไป

ลอยล่องไป ล่องไป ถอยไปถอยห่างแผ่นดิน

ดินแผ่นดินถิ่นฐานตัวเอง

โดนละเลงสงครามเสียจนสิ้นแผ่นดิน

เวิ้งกว้างกลางทางขวัญชีวันนั้นมืดมน

ทนทุกข์ทนทุกข์ทน สู้ต่อไป

ไกลห่างไกลสุดสายตา

ลอยล่องในนาวาถึงคราไร้แผ่นดิน

ดินถิ่นเดิมลุกร้อนดังไฟแผดเผา

ฟืนสุมเตาเจ้าคงเจ้าเคยยัดใส่เตา

คราวผู้นบนพื้นดินเดิมปากหมอง

ไยไม่มองไม่แลเห็นแก่ตัว

กินมีเหลือเผื่อแผ่กันวันนั้น

วันนี้คงไม่ต้องล่องเรือ

เกลือจิ้มเกลือเหลือเพียงเรือล่องมา

มาเข้ามา เข้ามา เรฟูจี

เวิ้งฟ้ากว้างกลางน้ำเรือลำน้อยล่องมา

มาล่องมา เข้ามา เข้ามาหาแผ่นดิน

ดินถิ่นนี้มีแต่น้ำตา

มีเหลือวันเวลาถ้ามาเพื่อดับไฟ


เนื้อหาของบทเพลงเรฟูจีนั้นอาจจะแหวกแนวไปจากบทเพลงส่วนใหญ่ซึ่งเน้นการสะท้อนชีวิตของคนในสังคมไทย แต่กลับมีใจเผื่อแผ่ไปถึงประเทศเพื่อนบ้านนั้นก็คือ เวียดนาม โดยปกติการต่อต้านสงครามนั้นเป็นแนวคิดประการหนึ่งที่ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตให้ความสนใจกันอยู่แล้ว บทเพลงเรฟูจี นี้ก็เป็ฯการยกตัวอย่างอารมณ์สะเทือนใจที่เป็นผลมาจากสงครามเช่นเดียวกัน
บทเพลง เรฟูจี เริ่มต้นด้วยการมีทำนองเพลงจีน ซึ่งก็เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนประเทศเวียดนามที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมจีน จากนั้นจึงเริ่มบรรยายภาพของคนเวียดนามที่ต้องอพยพลี้ภัยเนื่องมาจากผลสงครามในครั้งนั้นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ต้องกลับมารวมประเทศและปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม ชาวเวียดนามใต้จำนวนมากจึงพากันอพยพลงเรือเพื่อไปหาที่อยู่ใหม่รวมทั้งประเทศไทยด้วย การล่องเรือออกจากบ้านเกิดเป็นความรู้สึกที่อ้างว้างและสิ้นหวัง ซุ่งในที่นี้ศิลปินคาราบาวเริ่มต้นบทเพลงโดยพูดถึงสิ่งที่กว้างใหญ่ คือ ท้องฟ้ากว้างกลางน้ำ แต่สิ่งที่ลอยอยู่นั้นกลับเล็กโดยบรรยายถึงเรือลำน้อยเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการอพยพออกนอกประเทศทำให้คนเหล่านี้ขาดที่มั่น และมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อยๆจนกลายเป็นเพียงจุดเล็กๆ ที่ลอยอยู่กลางมหหาสมุทรอันกว้างใหญ่ การใช้คำซ้ำว่า ลอยล่องไป ล่องไป ถอยไป ถอยห่างดิน เป็นการใช้คำง่ายๆ แต่ให้เห็นภาพที่ชัดเจน เช่นเดียวกับที่ปรากฎในท่อนที่ 2ของบทเพลง คือ เวิ้งฟ้ากว้างทางขวัญชีวันนั้นมือมน ทนทุกข์ทนสู้ทนสู้ต่อไป
โครงสร้างของเนื้อเพลงใน 2 ท่อนแรกนั้นจะเหมือนกัน คือ ให้ภาพความอ้างว้างความน่าสงสารของ เรฟูจี ( ผู้อพยพ ) ที่ต้องล่องเรือของตนออกสู่โลกกว้างเนื่องจากไร้แผ่นดิน จากนั้นก็บอกถึงสาเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้ต้องออกไปผจญความมืดมน คือ ‘ โดนละเลงสงครามเสียจนสิ้นแผ่นดิน ‘ ( บรรทัดที่ 4) และ ‘ล่องในนาวาถึงคราไร้แผ่นดิน ‘ (บรรทัดที่ 8 )ในขณะที่ท่อน 3และ 4นั้นบรรยายสภาพบ้านเมืองของคนเหล่านี้ในขณะนั้นว่า ‘ดินถิ่นเดิมลุกร้อนดังไฟแผดเผา ‘ ( บรรทัดที่ 9 ) และเตือนสติว่าหากคนในชาติรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันแล้ว ก็คงไม่น่าเกิดเหตุการณ์สลดใจเช่นนี้ ดังที่บอกไว้ในเนื้อเพลงว่า ‘กินมีเหลือเผื่อแผ่กันวันนั้น วันนี้คงไม่ต้องล่องเรือ ‘ ( บรรทัดที่ 13-14 ) อย่างไรก็ตามผู้ประพันธ์เนื้อเพลงไม่ได้นำเสนอภาพที่สิ้นหวังเกินไปนัก เพราะในตอนท้ายยังมีการกล่าวถึงการที่เรือลำน้อยลอยเข้าหาแผ่นดิน ซึ่งน่าจะหมายถึงประเทศที่รับผู้อพยพเหล่านี้ไว้ ( ซึ่งอาจรวมหมายถึงประเทศไทยด้วย) ว่าแผ่นดินนั้นเป็นที่มีความเห็นอกเห็นใจพวกเขา ‘ น้ำตา ‘ ( บรรทัดที่ 19 ) และยังพอจะเป็นที่พักพิง
ให้ร่มเย็น และดับทุกข์ให้พวกเขาได้ ดังจะเห็นได้จากเนื้อเพลงประโยคสุดท้ายที่ว่า ‘ มีเหลือวันเวลา ถ้ามาเพื่อดับไฟ ‘
การนำเสนอภาพผู้ที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนซึ่งเป็นผลมาจากสงครามดังในบทเพลง ‘ เรฟูจี ‘ จึงเป็นอุทาหรณ์ เตือนสติผู้คนได้โดยไม่ต้องยึดติดกับความเป็นพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น คาราบาวยังมีลักษณะเด่นต่างๆไว้ในบทเพลงไม่ว่าจะเป็ฯการใช้ภาษาและถ้อยคำที่เข้าใจง่าย แต่สละสลวย โดยอาศัยคำสัมผัสใน และคำซ้ำต่างๆรวมไปถึงการจับสิ่งตรงข้ามมาไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นภาพความขัดแย้งระหว่างความกว้างใหญ่ของท้องฟ้า เวิ้งฟ้า และผืนน้ำ กับเรือเล็กๆนอกจากนั้นคำเหล่านี้
หวังว่าประเทศไทยคงจะไม่มีวันที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เอาแค่ล่องเรือหนีน้ำท่วมกรุงเทพก็เพียงพอแล้วครับ :'e:56


แหล่งอ้างอิง : จากหนังสือวรรณกรรมกวี

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=2847