ผู้เขียน หัวข้อ: ผักเชียงดา  (อ่าน 1383 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ล้านนาเขลางค์

  • มืออาชีพ
  • **
  • ออฟไลน์
  • 75
    9
  • เพศ: ชาย
ผักเชียงดา
« เมื่อ: 20/ส.ค./13 13:51น. »


ผักเชียงดา
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
     วงศ์    Apocynaceae (Asclepiadaceae)
 
     ชื่อวิทยาศาสตร์    Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
 
     ชื่อไทย    ผักเชียงดา
 
     ชื่อท้องถิ่น    - ผักเชียงดา(คนเมือง), ผักเซ็ง(ม้ง), ผักเซ็ง(ไทลื้อ) - ผักจินดา ผักเจียงดา ผักกูด ผักเชียงดา [3]
 
     ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์    ไม้เถาเลื้อยยาวสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-5 ซม. เลื้อยพาดไปตามต้นไม้ใหญ่ ยาวประมาณ 5-10 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม
ใบ เดี่ยว รูปกลมรี ฐานใบมน ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบสีเขียวเข้ม หน้าใบ (upper epidermis) เขียวเข้มกว่าหลังใบ (lower epidermis) ใบออกจากข้อเรียงเป็นคู้ตรงข้ามกัน
ดอก ช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยกลมเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 มม.
ผล เป็นฝักคู่ [3]
 
     ใบ    ใบ เดี่ยว รูปกลมรี ฐานใบมน ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบสีเขียวเข้ม หน้าใบ (upper epidermis) เขียวเข้มกว่าหลังใบ (lower epidermis) ใบออกจากข้อเรียงเป็นคู้ตรงข้ามกัน
 
     ดอก    ดอก ช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน ดอกย่อยกลมเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 มม.
 
     ผล    ผล เป็นฝักคู่ [3]
 
     สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์    - ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหารเช่น แกงใส่ผักหวาน แกงใส่ปลาแห้ง เป็นต้น(คนเมือง,ไทลื้อ)
ยอดและใบอ่อน ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือต้ม รับประทานกับน้ำพริก(ม้ง,คนเมือง)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกงรวมกับผักชะอม ผักเฮือด ผักกูด(ปะหล่อง)
- ยอดอ่อนและใบ ประกอบอาหารเช่น แกงขนุน หรือนึ่ง รับประทานกับน้ำพริก มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน(คนเมือง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ภาคเหนือใช้ใบสดรสมันขมตำให้ละเอียด พอกกระหม่อมเพื่อลดไข้ ลดอาการเป็นกวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ ลดน้ำตาลในเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ขับระดู เป็นยาเย็น ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
ผล แก้ไอ ขับเสมหะ
ยอดใบอ่อนและดอก รสขมมัน ใช้แกงกับปลาแห้ง
หัว รสมันขม แก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน แก้พิษไข้เซื่องซึม แก้เริม [3]
 
     อ้างอิง    เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
     สภาพนิเวศ    ชอบขึ้นในป่าดิบแล้ง แสงแดดรำไร

+0 โดย

ลิ้งค์หัวข้อ: https://www.plengpakjai.net/index.php?topic=18399
แจ้งลิงค์โหลดเพลงเสียได้ที่ https://www.plengpakjai.net/index.php?board=54.0